กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 เร่งยกระดับงานหัตถกรรมเครื่องเขิน สู่อุตสาหกรรม LifeStyle พร้อมจัดประกวดชิงเงินรางวัลกว่า 120,000 บาท
22 มิ.ย. 62 : นางพรสวรรค์ หมายยอด ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการส่งเสริมอุตสาหกรรมชุมชน เป็นประธานกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเครื่องเขิน ภายใต้โครงการ ยกระดับหัตกรรมท้องถิ่นสู่อุตสาหกรรมไลฟ์สไตล์ ประจำปีงบประมาณ 2562 (กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1) “อลังการหัตถศิลป์ ถิ่นล้านนา พร้อมกิจกรรมมากมาย” ที่ห้องนกยูง ชั้น 3 โรงแรมดิเอ็มเพลส อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยมี ผู้ประกอบการด้านหัตถกรรมเครื่องเขิน กลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มผู้ผลิตสินค้าหัตถกรรม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม นักเรียน นักศึกษา เข้าร่วมในกิจกรรมเป็นจำนวนมาก
นางพรสวรรค์ หมายยอด ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการส่งเสริมอุตสาหกรรมชุมชน กล่าวว่า กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 ประกอบไปด้วย จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง และแม่ฮ่องสอน โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โดย ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 กำหนดจัดงานงานหัตถกรรมเครื่องเขิน สู่อุตสาหกรรม LifeStyle กิจกรรมทดสอบตลาดเพื่อเชื่อมโยงธุรกิจ (ปลายน้ำ) ระหว่างวันที่ 24 – 25 สิงหาคม พ.ศ. 2562 ณ ศูนย์การค้า เมญ่า ไลฟ์สไตล์ ช้อปปิ้ง เซ็นเตอร์ จังหวัดเชียงใหม่ และ กิจกรรมสร้าง การรับรู้และแสดงศักยภาพอุตสาหกรรมเครื่องเขินล้านนา วันที่ 6 – 8 เดือนกันยายน พ.ศ. 2562 ณ กรุงเทพมหานคร
กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 ถือว่าเป็นจังหวัดที่มีความอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งผลิตสินค้าหัตกรรมที่สำคัญ อีกทั้งยังมีความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม เป็นแหล่งผลิตสินค้าหัตกรรม ที่มีคุณภาพ ซึ่งสร้างรายได้ต่อปีมูลค่ามหาศาลและส่งผลต่อภาพรวมของเศรษฐกิจของจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1
ดังนั้น ทางกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โดยศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 เป็นหน่วยงานภาครัฐที่มี หน้าที่ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาอุตสาหกรรมและหัตถกรรมให้แก่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมขนาดกลาง และขนาดย่อม (SMEs) และผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน จึงเกิดแนวคิดในการอนุรักษ์และพัฒนา ศิลปหัตถกรรมเครื่องเขิน ให้แก่ผู้ประกอบการที่ทำการผลิตเครื่องเขิน และผู้ที่สนใจ ได้แก่ นักเรียน นักศึกษา และผู้สนใจในพื้นที่จังหวัดภาคเหนือตอนบน เช่น จังหวัดเชียงใหม่ ให้เกิดการกระตุ้นเพื่อรักษาภูมิปัญญา ประยุกต์ใช้ในการต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องเขิน ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตในปัจจุบัน สามารถตอบสนอง ความต้องการของผู้บริโภคที่มองไม่เห็นหรือยังไม่ได้รับการตอบสนอง (Unmet Needs) ผ่านการคิดค้นการใช้ งานรูปแบบใหม่ ที่ผลิตภัณฑ์เดิมไม่เคยทำได้มาก่อน (New Usage) หรือสร้างคุณค่าใหม่ (New Value) ใน สายตาของกลุ่มลูกค้าในตลาดเป้าหมายที่มีศักยภาพ (Potential Market)
ในวันนี้ จึงได้มีการจัดกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเครื่องเขินภายใต้โครงการยกระดับหัตกรรมท้องถิ่นสู่อุตสาหกรรมไลฟ์สไตล์ประจำปีงบประมาณ 2562 กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 เพื่อเป็นการให้ความรู้กับผู้ที่สนใจทั่วไป และได้รับเกียรติจากวิทยากรที่มีความรู้ ความสามรถ มีชื่อเสียงเสียงเป็นที่ยอมรับ อย่าง ดร.วิถี พานิชพันธ์ กรรมการอำนวยการ สำนักส่งเสริม ศิลปวัฒนธรรม มช. รศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต หัวหน้าศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม (Creative Center for Ecodesign) ภาควิชานวัตกรรมอาคาร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์หัวหน้าคณะทราปรึกษา ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC) และผู้อำนวยการฝ่ายออกแบบของ Osisu (ธุรกิจผลิตภัณฑท์ี่เป็นมิตร ต่อสิ่งแวดล้อม) และคุณธีรชัย ศุภเมธีกูลวัฒน์ ดีไซน์ไดเรกเตอร์ บริษัท นิวอาไรวา จำกัด
อีกทั้งผู้ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึกด้านการออกแบบและพัฒนาหัตถกรรมเครื่องเขินสู่อุตสาหกรรมไลฟ์สไตล์ และกิจกรรมให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึกด้านการออกแบบและพัฒนาหัตถกรรมเครื่องเขินสู่ อุตสาหกรรมไลฟ์สไตล์ ยังสามารถสมัครคัดเลือกเพื่อส่งผลงานเพื่อเข้าประกวด ในการประกวดแข่งขันชิงเงินรางวัลอีกด้วย แบ่งออกเป็น 5 รางวัล ได้แก่ รางวัลชนะเลิศอันดับที่ 1 จำนวน 1 รางวัล มูลค่า 50,000 บาท รางวัลรองชนะเลิศอันดับ1 จำนวน 1 รางวัล มูลค่า 30,000 บาท รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 จำนวน 1 รางวัล มูลค่า 20,000 บาท และรางวัลชมเชย จำนวน 2 รางวัล มูลค่า 10,000 บาท โดยจะมีการโชว์ผลงานทั้งในจังหวัดเชียงใหม่และกรุงเทพมหานคร ซึ่งผู้ที่สนใจสามารถดาวโหลดใบสมัครและเกณฑ์การประกวดได้ที่ เพจ facebook หัตถกรรมเครื่องเขินสู่อุตสาหกรรม Liftstyle