สุขภาพ » ททท.ดึงมัคคุเทศก์ทั่วประเทศ ดูงานปางช้างแม่สา ต้นแบบเลี้ยงช้างแบบอนุรักษ์ ปลดโซ่ตรวน

ททท.ดึงมัคคุเทศก์ทั่วประเทศ ดูงานปางช้างแม่สา ต้นแบบเลี้ยงช้างแบบอนุรักษ์ ปลดโซ่ตรวน

11 กันยายน 2020
1289   0

Spread the love

ททท.ดึงมัคคุเทศก์ทั่วประเทศ ดูงานปางช้างแม่สา ต.แม่แรม อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ต้นแบบเลี้ยงช้างแบบอนุรักษ์ ปลดโซ่ตรวน ไร้เครื่องพันธนาการบังคับช้างเลี้ยงตามธรรมชาติให้ช้างมีความสุข หวังสร้าางความเข้าใจภาพลักษณ์ใหม่ให้ธุรกิจปางช้างไทย โดยมี น.ส.รัตนา ศรีหมอก ผู้จัดการปางช้างแม่สา และ นายสัตวแพทย์รณชิต รุ่งศรี นายสัตวแพทย์ประจำปางช้างแม่สา ได้ให้การต้อนรับและนำชมพร้อมอธิบายขั้นตอนการเลี้ยงช้างวิถีใหม่ เพื่อเป็นการเปิดการท่องเที่ยวแนวใหม่ในการเข้าชมช้างที่ปางช้างแม่สา ซึ่งกำลังเปลี่ยนโฉมเป็นเดอะช้างเชียงใหม่

หลังจากปางช้างแม่สา ในอำเภอแม่ริม หนึ่งในปางช้างเก่าแก่ของจังหวัดเชียงใหม่ เปิดดำเนินการมานานกว่า 44 ปี ปัจจุบันมีช้างอยู่ทั้งหมด 78 เชือก ลุกขึ้นมาปฎิวัติการเลี้ยงช้างเพื่อการท่องเที่ยวตั้งแต่ปลายปี 2562 โดยการปลดโซ่ตรวน ปลดแหย่ง ยกเลิกการใช้ตะขอเพื่อบังคับช้าง และหันมาเลี้ยงดูช้างแบบอนุรักษ์ ปล่อยให้ช้างอยู่อิสระตามธรรมชาติ หลังเกิดกระแสต่อต้านจากองค์กรด้านการอนุรักษ์สัตว์ในต่างประเทศ ที่โจมตีธุรกิจการเลี้ยงช้างเพื่อการท่องเที่ยวในประเทศไทยว่า เป็นการทรมานช้างและอาศัยสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 ต้องหยุดกิจการตามนโยบายของรัฐบาลนานร่วม 4 เดือน จึงได้ใช้โอกาสนี้เปลี่ยนวิถีการเลี้ยงแบบNew Normol

 

ในเรื่องนี้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้จัดกิจกรรม Elephant Care Educational Trip นำมัคคุเทศก์ จากบริษัทนำเที่ยว และสมาคม ชมรมจากทั่วประเทศกว่า 50 คน เดินทางมาศึกษาดูงาน ที่เดอะช้าง เชียงใหม่ 1ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของปางช้างแม่สา ซึ่งเป็นต้นแบบของปางช้างที่ปรับเปลี่ยนสู่การเลี้ยงช้างแบบอนุรักษ์ ให้ช้างอยู่ตามธรรมชาติแบบอิสระ และเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้ามาทำกิจกรรมดูแลช้าง ทั้งการเรียนรู้เรื่องสมุนไพรรักษาช้าง การป้อนอาหาร การให้ยาช้าง และการอาบน้ำทำสปาให้ช้าง


น.ส.รัตนา ศรีหมอก ผู้จัดการปางช้างแม่สา ได้เผยว่าในขณะนี้ปางช้างแม่สา ได้เปลี่ยนแนวการเลี้ยงช้างออกเป็น 3 โซน เดอะช้าง1โซนช้างชรา เดอะช้าง2 เนอสรี่ช้างน้อยและเดอะช้างวิลเลทก็คือกลุ่มช้างบ้านโต้งหลวง หมู่บ้านชาวเขาเดิม ในขณะนี้ต้องเปลี่ยนการเลี้ยงช้างวิถีใหม่เพื่อให้เกิดรายได้ เพราะตั้งแต่การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด19 ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2563เป็นต้นมารายได้ของปางช้างแม่สาเป็นศูนย์ แต่เราก็ต้องเลี้ยงช้างจำนวน78 เชือกตามปกติเพราะช้างแม่สาเป็นช้างเจ้าของเป็นช้างของบริษัท เราไม่สามารถนำช้างกลับบ้านได้ แต่เราจะอยู่อย่างไรให้เราอยู่รอดได้ ช้าง เชือกต้องมีควาญช้าง1 คนปางช้างอื่นปิดและนำช้างกลับบ้าน แต่ที่นี่เป็นบ้านเราต้องอยู่ที่นี่ เราไปไหนไม่ได้ต้องหารายได่ทดแทนโดยการทำปุ๋ยอินทรีย์ ปลูกข้าวเหนียวเลี้ยงช้างและต้องซื้อยาเลี้ยงช้างวันละถึง 15 ตัน

ในตอนหลังนี้แม่สาจะเป็นจากการแสดงและขี่ช้างมาเป็นป้อนอาหารให้ช้างกิน เราให้ชมฟรีแต่ขอให้ช่วยซื้อตระกร้าอาหารช้างเพียง 100 บาทมาช่วยเลี้ยงช้างก็จะเห็นกิจกรรมที่เปลี่ยนไปและปางช้างแม่สาต่อไปจะเป็นช้างปลดโซ่มารอรับอาหาร และกิจกรรมปางช้างแม่สา นอกจากจะซื้อตระกร้าเลี้ยงช้างยังจัดให้มีกิจกรรมอาบน้ำให้ช้าง แต่เดิมเคยขาย 1,500 บาท แต่เดี๋ยวนี้เราขายแค่ 300 บาท เพราะเราไม่มีลูกค้าต่างชาติ เรามีเฉพาะคนไทย และในขณะนี้เรายังเปิดมูลนิธิอนุรักษ์ช้างไทย เพื่อช่วยเหลือช้าง และหลังจากมาตรการโควิดเบาบางลง เราก็จะเปิดปางช้างเป็นมาช่วยเราเลี้ยงช้างแทนซึ่งจะเป็นแนวใหม่ของปางช้างแม่สาที่ทางคุณอัญชลี กัลมาพิจิตร กรรมการผู้จัดการใหญ่ปางช้างแม่สา ได้วางนโยบายไว้ชัดเจน

นายสัตวแพทย์ รณชิต รุ่งศรี สัตวแพทย์ประจำปางช้างแม่สา กล่าวว่า ถือเป็นความท้าทายของปางช้างแม่สาในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการเลี้ยงช้างแบบอนุรักษ์ แต่หลังเกิดวิกฤตการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 การท่องเที่ยวหยุดชะงัก นักท่องเที่ยวต่างชาติกลายเป็นศูนย์ ปางช้างแม่สาจึงใช้โอกาสในช่วงวิกฤตนี้เตรียมความพร้อมเพื่อปรับเปลี่ยนการเลี้ยงช้างแบบอนุรักษ์ และสร้างการรับรู้ต่อสังคม และผู้ประกอบการที่อยู่ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เพื่อสื่อสารต่อไปยังกลุ่มนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะชาวต่างชาติที่จะกลับมาในอนาคตหากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 คลี่คลาย

โดยเดอะช้างเชียงใหม่ 1 เป็นตัวอย่างที่ทำให้เห็นว่า ปางช้างแม่สา มีการเตรียมความพร้อมเพื่อให้นักท่องเที่ยวได้มาสัมผัสกับการเลี้ยงช้าง ที่ส่งเสริมให้ช้างได้ใช้ชีวิตอย่างอิสระกับธรรมชาติ ไร้เครื่องพันธนาการ และมีการดูแลช้างให้มีสุขภาพที่ดี เพราะช้างเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองของไทย