เช้าวันที่22ธันวาคม 2564 นางอัญชลี กัลมาพิจิตร ผู้บริหารปางช้างแม่สา และศูนย์อนุรักษ์ช้างแม่สา อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ได้นำสัตวแพทย์ปางช้างแม่สา และศูนย์อนุรักษ์ช้างและสิ่งแวดล้อม เข้าไปช่วยชีวิตของช้างชราพังยายน้อย วัย 60 ปี ที่ล้มลงนอนแล้วลุกไม่ขึ้นมาแล้วสองครั้ง
โดยก่อนหน้านี้พังยายน้อยแต่เลือกที่จะยืนหลับแทนมายาวนานกว่า 3 สัปดาห์แล้ว โดย เมื่อวันที่ 21 ธ.ค.ที่ผ่านมาพังยายน้อยมีอาการวูบจากการพักผ่อนไม่เพียงพอ สัตวแพทย์ได้รักษาด้วยการเติมน้ำเกลือและยาบำรุง พังน้อยซึ่งมีอาการเจ็บขาหลังด้านซ้ายมายาวนาน ทำให้ยืนได้ไม่ดี ทีมควาญช้างจึงได้ย้ายช้างเข้าซองรักษาที่มีขนาดพอดีกับตัวช้าง ช้างสามารถพิงตัวอยู่ในซองได้ นอกจากนี้สัตวแพทย์ยังตรวจพบอาการผิดปกติในช่องปากเพิ่มเติม
ซึ่งคาดว่าน่าจะเกิดจากฟันผุ ทำให้พังยายน้อยมีน้ำลายไหลย้อยตลอดเวลา และมีอาการเจ็บลิ้นร่วมด้วย ทางด้านการรักษาจึงต้องล้วงเอาเศษอาหารที่อุดตามซอกฟันออกและล้างด้วยน้ำ งดการให้กินหญ้า และเริ่มทำการผสมกล้วยสุกปั่นกับน้ำ ผสมเข้ากับอาหารเม็ดให้ช้างกินแทน นับเป็นครั้งแรกที่ทางปางช้างต้องปรับการรักษาที่ยากขึ้น เพราะช้างหนึ่งเชือกต้องกินอาหารมากถึง 10% ของน้ำหนักตัว ช้างพังมีน้ำหนักมากกว่า 2,000 กิโลกรัม การบดกล้วยต้องทำวันละ 200 กิโลกรัม ซึ่ง
ทีมสัตวแพทย์ประจำปางช้าง น.สพ.รณชิต รุ่งศรี และ สพ.ญ.พิชามญชุ์ เอื้องไพบูลย์ จะต้องให้น้ำเกลือและยาบำรุงร่วมด้วยเป็นระยะๆ เพื่อรักษาชีวิตช้างเอาไว้ และเมื่อเวลา 09.00 น.วันที่ 22 ธ.ค.พังยายน้อยได้ลงนอนตะแคงโดยทางทีมสัตวแพทย์ต้องใช้รถเครนทำการยกพังยายน้อยเพื่อให้เปลี่ยนท่านอนทุก 4 ชั่วโมงเพื่อไม่ให้เกิดแผลกดทับ
น.สพ.รณชิต รุ่งศรี สัตวแพทย์ประจำปางช้างแม่สา ได้เผยว่าอาการของพังยายน้อยยังน่าเป็นห่วงมากๆเพราะพังยายน้อยไม่ตอบสนองเราพยายามที่จะพลับด้านแต่ช้างกลับแสดงอาการไม่สบายตัวจำเป็นต้องให้นอนท่าเดิมแต่เรามีฟางกับกองดิน และทีมงานได้พยายามเจาะเกล็ดเลือดและให้น้ำเกลือเพือประคองอาการและให้ยากระตุ้น
ในตอนนี้ช้างยังมีลมหายใจ ยังมีอาการที่แสดงให้เห็นว่ามีชีพจรสีเหยื่อเหมือกค่อนข้างปกติ เพราะฉนั้นเรายังต้องสู้เพิ่อช้างเชือกนี้ต่อไป หากถามว่าอาการของยายพังน้อยจะกลับมาปกติหรือไม่ เราบอกไม่ได้แต่พวกเราจะพยายามต่อสู้เพื่อยื้อชีวิตพังยายน้อยให้ได้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าการล้มของช้างพังยายน้อย มีการไลฟ์สดไปทั่วกับการช่วยเหลือชีวิตพังยายน้อยให้รอด ทำให้ผู้ที่รักช้าง ส่งกำลังใจมากให้มากมายขอให้พังยายน้อยลุกขึ้นมาได้ หากท่านใดต้องการช่วยเหลือช้างที่ปางช้างแม่สา โปรดติดต่อคุณรัตนา ศรีหมอก ผู้จัดการปางช้างแม่สา เบอร์โทร 081-882-3738 หรือ 089 838-4242
สำหรับปางช้างแม่สา ยังมีช้างชราอายุ 60-85 ปีจำนวนถึง 16 เชือก จากจำนวนช้างที่มีทั้งหมด 71 เชือก และช้างชรา หลายเชือกต้องผจญกับอากาศที่หนาวเย็น ทำให้ล่มป่วยกันมาก ถึงแม้จะมีการห่มผ้ากันหนาวและก่อไฟให้แล้วก็ตาม//