ไม่มีหมวดหมู่ » สะพานบุญโขกู้โส่ สะพานบุญแห่งแรงศรัทธา อีกหนึ่งจุดท่องเที่ยวธรรมชาติ ของปาย ท่ามกลางหุบเขาล้อมรอบ และสัมผัสวิถีชีวิต วัฒนธรรม และ ประเพณีของชาวไทใหญ่ ที่ บ้านแพมบก อ.ปาย 

สะพานบุญโขกู้โส่ สะพานบุญแห่งแรงศรัทธา อีกหนึ่งจุดท่องเที่ยวธรรมชาติ ของปาย ท่ามกลางหุบเขาล้อมรอบ และสัมผัสวิถีชีวิต วัฒนธรรม และ ประเพณีของชาวไทใหญ่ ที่ บ้านแพมบก อ.ปาย 

22 มกราคม 2020
906   0

Spread the love

ประวัติสะพานบุญโขกู้โส
สะพานบุญโขกู้โส่ได้เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 22 เมษายน พศ. 2559 เกิดขึ้นจากพลังศรัทธาของชาวบ้านที่มีต่อ
พระพุทศสนา โดยมี พระอาจารย์สคร สุวเสน เป็นผู้คิดริเริ่มร่วมกับชาวบ้านหมู่บ้านแพมบก ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยโครงการพัฒนาป่าไม้ตามแนวพระราชดำริดอยกิ่วลม หน่วยงานราชการของอำเภอปาย และหน่วยงานราชการของจังหวัดแม่ฮ่องสอน รวมถึงความร่วมมือร่วมใจจากชาวบ้านหมู่บ้านแพมบก หมู่บ้านพื้นที่ใกล้เคียง และพี่น้องชาวอำเภอปาย ร่วมเป็นแรงงานในการก่อสร้าง

วัตถุประสงค์ของการสร้างสะพานโขกู้โส่ เพื่อให้พระภิกษุที่จำพรรประวัติสะพานบุญโขกู้โส
สะพานบุญโขกู้โส่ได้เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 22 เมษายน พศ. 2559 เกิดขึ้นจากพลังศรัทธาของชาวบ้านที่มีต่อ
พระพุทศสนา โดยมี พระอาจารย์สคร สุวเสน เป็นผู้คิดริเริ่มร่วมกับชาวบ้านหมู่บ้านแพมบก ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยโครงการพัฒนาป่าไม้ตามแนวพระราชดำริดอยกิ่วลม หน่วยงานราชการของอำเภอปาย และหน่วยงานราชการของจังหวัดแม่ฮ่องสอน รวมถึงความร่วมมือร่วมใจจากชาวบ้านหมู่บ้านแพมบก หมู่บ้านพื้นที่ใกล้เคียง และพี่น้องชาวอำเภอปาย ร่วมเป็นแรงงานในการก่อสร้าง

คำว่า โข แปลว่า “สะพาน” กู้โส่ แปลว่า “กุศลหรือบุญ” โขกู้โส่จึงหมายถึง “สะพานบุญ” สร้างขึ้นมาด้วยศรัทธาของพุทธศาสนิกชนชาวปาย เพื่อให้พระสงฆ์ที่พุทธอุทยานห้วยคายคีรี ใช้เดินลัดทุ่งนาออกมาบิณฑบาตรได้ใกล้กว่าเส้นทางเดิม โดยไม่เหยียบย่ำพืชผลทางการเกษตรของชาวบ้าน ขณะเดียวกันก็อำนวยความสะดวกให้นักท่องเที่ยวข้ามไปทำบุญ ไหว้พระ พร้อมชมธรรมชาติสวยๆ ของป่าเขาและนาข้าวระหว่างทางอีกด้วย

วัตถุประสงค์ของการสร้างสะพานโขกู้โส่ เพื่อให้พระภิกษุที่จำพรรษาอยู่ในพุทธอุทยานห้วยคายคีรีได้ใช้เป็นเส้นทางในการเดินทางมาบิณฑบาตรในชุมชน เพื่อส่งเสริมพระพุทธศาสนาและแสดงออกถึงแรงศรัธาของคนในชุมชนที่มีต่อพระพุทธศาสนา

สะพานโขกู้โส่ ใช้ระยะเวลาในการสร้างประมาณ 3 เดือน ความยาวของสะพาน มีระยะทางรวม 813 เมตร น้อมถวายเป็นพุทธบูชา ให้พระภิกษุสงฆ์จากพุทธอุทยานห้วยคายคีรี ได้ใช้เป็นเส้นทางบิณฑบาตรครั้งแรกเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ.2559 เนื่องด้วยพื้นผิวของสะพานสร้งจากไม้ไผ่ ง่ายต่อการชำรุดจึงขอความร่วมมือจากผู้มาเยือนทุกท่าน ดังนี้
1. ได้โปรดงดกระโดด หรือ งดวิ่งบนสะพานโขกู้โล่
2. งดดื่มสุราและของมึนเมาต่างๆ บริเวณสะพานโขกู้โล่
3. งดส่งเสียงดังเมื่อเข้าไปในเขตพุทธอุทยานฯ