สังคม » วันสถาปนามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

วันสถาปนามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

19 มกราคม 2019
1120   0

Spread the love

มหาวิทลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จัดพิธีน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุยเดชบรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 และถวายราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าอยู่มหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูล รัชกาลที่ 10 เนื่องในวันคล้ายวันสถาปนามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ปีที่ 14 ณ ศาลาราชมงคล มทร.ล้านนา  รศ.ศีลศิริ สง่าจิตร ผู้ปฏิบัติหน้าที่อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร คณาจารณ์ บุคลากรและนักศึกษา ร่วมพิธีบวงสรวงศาลพระภูมิและศาลครูบาเจ้าศรีวิชัย จากนั้นทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ 14 รูป พิธีเจริญพระพุทธมนต์ และในเวลา 10.00 น. รศ.ศีลศิริ สง่าจิตร วางพานพุ่มสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลเดช บรมนาถบิตร รัชการที่ 9 และนำกล่าวถวายราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูร รัชการที่ 10 ต่อหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ จากนั้นมอบรางวัลเชิดชูเกียรติ “ราชมงคลสรรเสริญ” ประจำปีการศึกษา 2561 มีผู้ได้รับรางวัลทั้งสิ้น 35 ท่านดังนี้
ระดับเพชรราชมงคล
ประเภทอาจารย์ด้านงานวิจัย นางอรทัย บุญทะวงศ์ มทร.ล้านนา ลำปาง
ประเภทอาจารย์ด้านกีฬา นายประวัติ ปรางสุรางค์ มทร.ล้านนา พิษณุโลก
ประเภอาจารย์ด้านกิจกรรม น.ส.ณฐมน ทรัพย์บุญโต มทร.ล้านนา เชียงราย

ประเภทสายสนับสนุนด้านปฏิบัติงาน น.ส.อนัญญา วัฒนประทีบ มทร.ล้านนา เชียงใหม่
ประเภสายสนับสนุนด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม นายวยุกร เกตุน้อย มทร.ล้านนา พิษณุโลก

ประเภทศิษย์เก่าด้านสนับสนุนมหาวิทยาลัย นายนครินทร์ จิตตธร มทร.ล้านนา ตาก
ประเภทศิษย์เก่าด้านส่งเสริมและสร้างชื่อเสียง นายสำรวย รุจิระธนลักษณ์ มทร.ล้านนา น่าน
ประเภทนักศึกษา ด้านทักษะผู้นำ น.ส.ณฑิฉัตร ต้นทน มทร.ล้านนา เชียงใหม่
ประเภทนักศึกษาด้านสร้างสรรค์นวัตกรรม น.ส.ชนาพร อ้วนทนะ มทร.ล้านนา น่าน
ประเภทนักศึกษาจิตอาสาและคุณธรรมจริยธรรม นายสรศักดิ์ ฉันทะวงศ์ มทร.ล้านนา

ระดับราชมงคลสรรเสริญ
ประเภทผู้บริหารระดับกลาง นายชัยธวัช จารุทรรศน์ มทร.ล้านนา ลำปาง
ประเภทผู้บริหารระดับกลาง นายวริศ จิตต์ธรรม มทร.ล้านนา พิษณุโลก
ประเภทผู้บริหารระดับต้น ผศ.วรัญญา ธาราเวชรักษ์ มทร.ล้านนา ลำปาง

ประเภทอาจารย์ด้านผู้สอนทฤษฎี นายวิทยา พรหมพฤษ์ มทร.ล้านนา พิษณุโลก
ประเภทอาจารย์ด้านผู้สอนทฤษฎี ผศ.ดร.ณภัทร ทิพย์ศรี มทร.ล้านนา เชียงราย
ประเภทอาจารย์ด้านผู้สอนทฤษฎี นายยุรธร จีนา มทร.ล้านนา เชียงใหม่
ประเภทอาจารย์ด้านผู้สอนทฤษฎี รศ.สุนทร วิทยาคุณ มทร.ล้านนา ลำปาง
ประเภทอาจารย์ด้านวิชาการ (ผู้สอนปฏิบัติ) ผศ.บุญเจิด กาญจนา มทร.ล้านนา พิษณุโลก
ประเภทอาจารย์ด้านวิชาการ (ผู้สอนปฏิบัติ) น.ส.ปิยมาสฐ์ ตัณฑ์เจริญรัตน์ มทร.ล้านนา ลำปาง
ประเภทอาจารย์ด้านบริการวิชาการ นายวรกฤช ดอนคำเพ็ง มทร.ล้านนา พิษณุโลก
ประเภทอาจารย์ด้านงานวิจัย น.ส.สุริยาพร นิพรรัมย์ มทร.ล้านนา พิษณุโลก
ประเภทอาจารย์ด้านกีฬา นายอำนาจ ผัดวัง มทร.ล้านนา ลำปาง
ประเภทอาจารย์ด้านกิจกรรม น.ส.เบ็ญญา อินวรรณ์ มทร.ล้านนา ลำปาง
ประเภทอาจารย์ด้านกิจกรรม นายสมชาย โพธิ์พยอม มทร.ล้านนา พิษณุโลก
ประเภทอาจารย์ด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม นายณัฐอมร จวงเจิม มทร.ล้านนา ลำปาง

ประเภทสายสนับสนุนด้านปฏิบัติงาน นายพร้อมพงศ์ โสภาวรรณ์ มทร.ล้านนา เชียงใหม่
ประเภทสายสนับสนุนด้านปฏิบัติงาน น.ส.จารุวรรณ สุยะ มทร.ล้านนาลำ ปาง

ประเภทศิษย์เก่าด้านผู้สนับสนุนมหาวิทยาลัย นายพงศ์เทพ พันธุ์นิติพงศ์ มทร.ล้านนา ลำปาง
ประเภทศิษย์เก่าด้านส่งเสริมและสร้างชื่อเสียง นายวิทยา เจริญอรุณาวัฒนา มทร.ล้านนา ลำปาง
ประเภทศิษย์เก่าด้านส่งเสริมและสร้างชื่อเสียง นายประเสริฐ ลิมปนัดดา มทร.ล้านนา ตาก
ประเภทนักศึกษาด้านทักษะผู้นำ นายตะวัน ตันตา มทร.ล้านนา ลำปาง
ประเภทนักศึกษาด้านทักษะผู้นำ น.ส.ศศิภา ชุมภูธิมา มทร.ล้านนา น่าน
ประเภทนักศึกษาด้านสร้างสรรค์นวัตกรรม นายจตุรพัฒน์ จิตเทพมทร.ล้านนา ลำปาง
ประเภทนักศึกษาด้านจิตอาสาและคุณธรรมจริยธรรม น.ส.กชกร คำพุธ มทร.ล้านนา ลำปาง
ประเภทนักศึกษาด้านจิตอาสาและคุณธรรมจริยธรรม น.ส.ศุภกานตร์ ล้ามนะลา มทร.ล้านนา น่าน
จากนั้น รศ.ศีลศิริ สง่าจิตรกล่าคำประกาศแสดงเจตจำนงสุจริต นโยบายคุณธรรมและความโปร่งใสในการบริหารงานของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ต่อหน้าพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลเดช บรมนาถบิตร รัชการที่ 9 และพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูร รัชการที่ 10
เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2548 พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. 2548ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นผลให้มีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลเกิดขึ้นใหม่ จำนวน 9 แห่ง เป็นสถาบันอุดมศึกษาด้านวิชาชีพและเทคโนโลยี จัดการศึกษาด้านวิชาชีพชั้นสูงที่เน้นการปฏิบัติ ผลิตครูวิชาชีพ และให้ผู้สำเร็จอาชีวศึกษามีโอกาสในการศึกษาต่อด้านวิชาชีพเฉพาะทางระดับปริญญาเป็นหลัก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ได้หลอมรวมเอาวิทยาเขต และสถาบันวิจัย จำนวน 7 แห่งเข้าด้วยกัน ประกอบด้วย วิทยาเขตภาคพายัพ จังหวัดเชียงใหม่ วิทยาเขตน่าน วิทยาเขตตาก วิทยาเขตลำปาง วิทยาเขตพิษณุโลก วิทยาเขตเชียงราย และสถาบันวิจัยและฝึกอบรมการเกษตรลำปาง ต่อจากนั้นในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ได้มีการจัดตั้งส่วนราชการภายในมหาวิทยาลัย ซึ่งประกอบด้วย 4 คณะ 1 วิทยาลัย 4 สำนัก-สถาบัน และ 5 สำนักงานบริหารฯ (เขตพื้นที่) โดยวิทยาเขตภาคพายัพ มีฐานะเป็นศูนย์กลางมหาวิทยาลัย ต่อมาสภามหาวิทยาลัย ได้มีมติให้จัดตั้งสำนักงานบริหารมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพเชียงใหม่ ส่งผลให้ภาคพายัพ มีฐานะเป็นเขตพื้นที่เช่นเดียวกันกับเขตพื้นที่อื่น[4] จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2557 จึงได้มีการเปลี่ยนแปลงสถานะของเขตพื้นที่ภาคพายัพ ให้เป็นศูนย์กลางของมหาวิทยาลัยดังเดิม