บรวงสรวง อนุสาวรีย์สามกษัตริย์ เปิดกล้องซีรี่ส์ “ผมม้าเดอะซีรี่ส์…รักแรกหรือรักสุดท้าย”“ซีรี่ส์ไทยเรื่องแรกที่ส่งเสริมความหลากหลายทางเพศ” ที่เชียงใหม่​

บรวงสรวง อนุสาวรีย์สามกษัตริย์ กลางเมืองเชียงใหม่ เปิดกล้องซีรี่ส์ไทย “ผมม้าเดอะซีรี่ส์…รักแรกหรือรักสุดท้าย” “ซีรี่ส์ไทยเรื่องแรกที่ส่งเสริมความหลากหลายทางเพศ”และเผยแพร่แหล่งท่องเที่ยวที่งดงามของเชียงใหม่​

เมื่อ​วันที่ ​29 มี.ค.นี้ ที่ลานอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ จ.เชียงใหม่​ บริษัท ชมิทหลามีเดีย จำกัด โดย “ชมิทหลา เหลี่ยววิริยกิจ” นำคณะเหล่านักแสดงเข้าพิธีบวงสรวงเพื่อเปิดกล้องการถ่ายทำ ซีรี่ส์ไทย เรื่อง “ผมม้าเดอะซีรี่ส์…รักแรกหรือรักสุดท้าย” โดยมี “มุนีพราหมณ์” จากสำนักวัดสุทัศนเทพวราราม มาประกอบพิธีบวงสรวง เพื่อเสริมสิริมงคลในการเปิดกล้องถ่ายทำซีรี่ย์ไทยเรื่องนี้ ซึ่งเป็นการกำกับการแสดงโดย “น้ำฝน” ชมิทหลา เหลี่ยววิริยกิจ ซึ่งเป็นภาคต่อของ “ผมม้าหน้าเต่อ” ซีรี่เรื่องดังเมื่อ ปี 62 โดยมีเหล่า FC ที่ติดตามเข้าร่วมพิธีในครั้งนี้

 

“น้ำฝน” ชมิทหลา เหลี่ยววิริยกิจ เผยว่า การกลับมาของซีรี่ส์ที่เคยสร้างปรากฎการณ์ “ซีรี่ส์ไทยเรื่องแรกที่ส่งเสริมความหลากหลายทางเพศ” โดยเฉพาะกลุ่ม LTที่มีพระเอก นางเอก นักแสดงนําเป็น ทอม ดี้ เลสเบี้ยนทและหลากหลายทางเพศ สร้างเรตติ้งและกระแสการยอมรับให้กับสังคม ด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับวัยรุ่น และสังคมที่มีความสนุกสนาน มิตรภาพ ความรัก ครอบครัวที่เกิดขึ้นในกลุ่มนี้ โดย 8 ปีที่หายไป ยังคงมีแฟนคลับที่คอยเฝ้าติดตามอย่างเหนียวแน่น และต่อเนื่อง

จนในวันนี้เราได้มาทำพิธี​บรวงสรวงเปิดกล้องถ่ายซี่รี่ส์ “ผมม้าเดอะซีรี่ส์…รักแรกหรือรักสุดท้าย” โดยเรื่องนี้ทําการถ่ายทําในสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดเชียงใหม่เพื่อเผยแพร่ให้ผู้ชมละครเรื่องนี้ได้ชมตวามสวยงามของเชียงใหม่ท้ังเรื่อง ควบคุมการผลิตและกํากับการแสดงโดย “ชมิทหลา เหลี่ยววิริยกิจ” นําแสดงโดย นักแสดงนําที่เคยร่วมเล่นจากซีรี่ส์ก่อนหน้านี้ อาทิเช่น “พลอย” ศรนรินทร์, “ซาโอะ” กานต์สินี – กันกัน ณัฐวัฒน์ พร้อมด้วยพระเอกนางเอก นักแสดงกลุ่มหลากหลายทางเพศหน้าใหม่ (เจน) ณัฐชา แสงทอง – (ปลายฟ้า) นฤมล สิทธิวัง อดีตนางสาวเชียงใหม่ประจำปี 2562- (จีน่า) ณัฐกฤตา รํามะนู – (ราชัน) ราชัน รุ่งไพรพนา

โดยจะเริ่มออกอากาศทางแพล็ตฟอร์ม The Best Net ไปทั่วโลกตั้งแต่ต้นเดือนพฤษภาค​ม 2566 เป็นต้นไป./

บสย. จัดกิจกรรม นำ SubPAC เยี่ยมชมกิจการลูกค้า บสย. พื้นที่ จ.เชียงใหม่ และ จ.ลำพูน

นายสิทธิกร ดิเรกสุนทร กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) นำคณะอนุกรรมการจัดทำบันทึกข้อตกลงและประเมินผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจ สาขาสถาบันการเงิน (Performance Agreement Sub-Committee : SubPAC) ลงพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดลำพูน เยี่ยมชมกิจการผู้ประกอบการ SMEs ที่เป็นลูกค้าของ บสย. จำนวน 2 ราย โดยมี นายปิยะบุตร ชลวิจารณ์ ประธานคณะอนุกรรมการประเมินผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจ สาขาสถาบันการเงิน (SubPAC) พร้อมด้วยคณะอนุกรรมการ และหน่วยงานกำกับดูแล ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) และ บริษัท ทริส คอร์ปอเรชั่น จำกัด เมื่อวันที่ 17-18 กุมภาพันธ์ 2566

สำหรับการเยี่ยมชมกิจการลูกค้า บสย. นั้น เพื่อศึกษาประสบการณ์การเริ่มต้นธุรกิจ จนประสบความสำเร็จ ซึ่ง บสย. ได้ให้การสนับสนุนด้านการค้ำประกันสินเชื่อจนเติบโตและพัฒนากิจการอย่างต่อเนื่อง จนก้าวสู่ตลาดโลก โดยบริษัทที่ บสย. และคณะ SubPAC เยี่ยมชมกิจการมี จำนวน 2 ราย ประกอบด้วย บริษัท เอ็กซา ซีแลม จำกัด ประกอบธุรกิจผลิตทันตกรรมเทียม หรือฟันปลอมที่มีนวัตกรรมและขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีนวัตกรรมการผลิตและส่งให้กับคลินิกทันตกรรม โรงพยาบาล ทั้งในประเทศและส่งออก

บริษัท โกลด์มิลค์ฟาร์ม จำกัด ประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์นมพร้อมดื่มพาสเจอร์ไรส์ และยูเอชที ภายใต้แบรนด์ “GOLD MILK GUERNSEY” เป็นฟาร์มผลิตน้ำนมโคสายพันธุ์เกิร์นซีย์ ซึ่งเป็นโคนมสายพันธุ์เก่าแก่และหายาก มีองค์ประกอบของน้ำนมและสารอาหารต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ ให้คุณค่าทางโภชนาการสูงกว่าน้ำนมจากโคนมสายพันธุ์ทั่ว ๆ ไป แห่งแรกในประเทศไทยและใหญ่ที่สุดในเอเชีย

ซึ่ง บสย. สนับสนุนและเข้าไปเติมเต็ม โดยให้การค้ำประกันสินเชื่อผ่านสถาบันการเงินต่าง ๆ จนมีความเข้มแข็ง เติบโต สามารถขยายธุรกิจได้ และเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน

ครูบาน้อย เตชปัญโญ เกจิอาจารย์ล้านนา ออกนิโรธกรรมครั้งสุดท้าย ท่ามกลางศิษยานุศิษย์หลายพันรอใส่บาตร

เมื่อเวลา 06.09 น.วันที่18 ก.พ. 2566 ครูบาน้อย เตชปัญโญ หรือ พระครูสิริศิลสังวรณ์ อายุ 72 ปีเกจิอาจารย์ล้านนา เจ้าอาวาสวัดศรีดอนมูล อ.สารภี จ.เชียงใหม่ออกนิโรธกรรมหลังจากที่เข้านิโรธกรรมตั้งแต่วันที่ 15 ก.พ.โดย อดอาหาร ฉันน้ำ 1 บาตร เป็นเวลา 3 วัน 3 คืนอยู่ในกระท่อมฟางที่มีรั้วไม้ไผ่ล้อมรอบ7 ชั้นภายในบริเวณวัด

โดยมีศิษยานุศิษย์นับพันมารอตักบาตรทำบุญในการออกนิโรธกรรมในครั้งนี้โดยครูบาน้อยได้นั่งสมาธิท่ามกลางอากาศที่หนาวเย็นและฝนตกลงมาตลอดในช่วงที่เข้านิโรธกรรม3 วัน 15-18 ก.พ. โดยในช่วงที่เข้านิโรธกรรมทางครูบาน้อยจะชักธง”ปราบมารบันดาลโชค”ที่ลงอักขระคาถาไว้ในผืนธงชักขึ้นเหนือกระท่อมฟางในช่วงเข้านิโรธกรรมจะมีเพียงเสียงระฆังเคาะบอกให้ญาติโยมเป็นระยะเท่านั้น จนครบ3 วัน3 คืน


ซึ่งก่อนหน้านี้ ครูบาน้อย เตชปัญโญ หรือ พระครูสิริศิลสังวรณ์ ได้เข้านิโรธกรรมเคยเข้าเป็นเวลานานถึง 9 วัน จากนั้นลดลงมาเหลือ 7 วัน และ 5 วัน จนมาถึง 3 วัน ตามอายุของครูบาน้อย โดยขณะนี้ท่านมีอายุ 72 ปี บรรดาศิษยานุศิษย์ขอให้เข้าเพียง 3 วัน และเป็นครั้งสุดท้าย

สำหรับประวัติครูบาน้อย เตชปญฺโญหรือพระครูสิริศีลสังวร มีนามเดิมว่า ประสิทธิ์ กองคำ (น้อย) เป็นบุตรของคุณพ่อคำ กองคำ และคุณแม่ต๋าคำ กองคำ เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2494 แรม 4 ค่ำ เดือน 3 (เหนือ) ปีขาล ที่บ้านศรีดอนมูล ต.ชมภู อ.สารภี จ.เชียงใหม่มีพี่น้องร่วมบิดา – มารดา เดียวกัน 4 คน เมื่อแรกเกิด เด็กชายประสิทธิ์ กองคำ มีสายรกพันรอบตัว ซึ่งตามความเชื่อของครูโบราณในภาคเหนือได้เล่ากันมาว่า จะได้บวชเป็นพระสืบทอดพระพุทธศาสนาต่อไปและแล้วก็เป็นไปตามความเชื่อของคนโบราณ เด็กชายน้อย ชอบติดตามคุณแม่ต๋าคำไปทำบุญที่วัดในวันพระเสมอ เวลาพระเทศน์ เด็กชายน้อย สำรวม กาย วาจา ใจ ตั้งใจฟังพระเทศน์อย่างใจจดใจจ่อ มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาอย่างจริงจัง เมื่ออายุได้ 7 ขวบ คุณแม่ต๋าคำ กองคำ ได้นำไปฝากเป็นเด็กวัดเพื่อเรียนหนังสือกับครูบาผัด (พระครูใบฎีกาผัด ผุสฺสิตธมฺโม) ณ วัดศรีดอนมูล

ซึ่งในสมัยนั้นครูบาผัดเป็นพระที่มีความสามารถทางคาถาอาคม อยู่ยงคงกระพัน และการรักษาผู้ป่วยด้วยยาสมุนไพร จนชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่รู้จักกันดีในจังหวัดเชียงใหม่ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาเด็กชายน้อย ได้รับการพร่ำสอนในเรื่องของ ธรรมมะ อักขระภาษาล้านนา(ซึ่งเป็นภาษาที่รวบรวมคาถาอาคมของคนล้านนาไว้) จากครูบาผัด ด้วยความตั้งใจ เมื่อสิ้นครูบาผัด จึงได้สืบทอดวิชา และการปฎิบัติธรรมที่เคร่งสืบทอดต่อมา จนมีชื่อเสียงด้านปฎิบัติดีปฎิบัติชอบมีลูกศิษย์ที่เลื่อมใสศรัทธาทั้งภายในประเทศและต่างประเทศจำนวนมาก//

Sichuan Global Travel International Travel Service Co.,Ltd ร่วมกับ Sichuan Airlines จัดเที่ยวบินเหมาลำจากเฉินตูบินตรงเข้าจังหวัดเชียงใหม่

Sichuan Global Travel International Travel Service Co.,Ltd ร่วมกับ Sichuan Airlines จัดเที่ยวบินเหมาลำจากเฉินตูบินตรงเข้าจังหวัดเชียงใหม่ หวังกระตุ้นการท่องเที่ยวหลังโควิดเริ่มคลี่คลาย เผยชาวเมืองเฉินตูนิยมมาเที่ยวเชียงใหม่ เพราะอากาศดี สถานที่ท่องเที่ยวและความเป็นอยู่ทุกอย่างเอื้ออำนวย เตรียมบินตรงเข้ามาทุกวัน ขณะที่จะประสานเมืองต่างๆของประเทศจีนให้บินตรงเข้ามาเที่ยวเชียงใหม่อย่างต่อเนื่อง


เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2566 เวลา 19.05 น. สายการบินเสฉวนแอร์ เที่ยวบิน 3 U 3933 ได้ถึงยังท่าอากาศยานจังหวัดเชียงใหม่ เป็นเที่ยวบินปฐมฤกษ์เฉินตู – เชียงใหม่ แบบเหมาลำ โดยนายวีรพงศ์ ฤทธิ์รอด รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นตัวแทนจังหวัดเชียงใหม่ให้การต้อนรับ


MR.GUO HUI ประธานบริหาร Sichuan Global Travel International Travel Sevice เปิดเผยว่า ทาง Sichuan Giobal Travel International Travel Service ดำเนินกิจการเหมาลำสายการบินระหว่างประเทศ มาตลอดระยะเวลา 8 ปี และมีสถิติโดยสารนักท่องเที่ยวจีนหลายแสนคนต่อปีที่เดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทย รวมถึงเชียงใหม่ ซึ่งมุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจไทย การท่องเที่ยวไทยให้ดียิ่งๆขึ้นไป จากสถานการณ์โควิด 19 ที่เริ่มคลี่คลาย ทางSichuan Global Travel International Travel Service จึงได้ดำเนินการเหมาลำสายการบินเสฉวนแอร์ไลน์ และมีการเหมาลำสายการบินอื่นๆ เพื่อเพิ่มไฟล์บินและกระตุ้นการท่องเที่ยว


“สถานการณ์โควิด 19 ใน 3 ปีที่ผ่านมาภาคธุรกิจท่องเที่ยวกระทบหนักมากนักท่องเที่ยวจากประเทศจีนงดเดินทางออกนอกประเทศ แต่ปัจจุบันสถานการณ์โควิด 19 ที่เริ่มคลี่คลายก็เป็นโอกาสอันดีที่เราจะเปิดการท่องเที่ยวมายังจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นจุดหมายปลายทางที่คนจีนโดยเฉพาะชาวเมืองเฉินตูนิยมเดินทางมา ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ความเป็นอยู่ทุกอย่าง เอื้ออำนวยและ อากาศที่เชียงใหม่ก็ดีมาก สำหรับผู้โดยสารที่มาเที่ยวบินในครั้งนี้มีจำนวน 159 คน มาพำนักท่องเที่ยวตั้งแต่ 8 วัน ไปจนถึง 1 เดือน โดยนักท่องเที่ยวที่มาเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูง” ประธานบริหาร Sichuan Global Travel International Travel Sevice กล่าวและว่า.


จากการเปิดไฟล์ทบินเหมาลำไฟล์ทแรกคือไฟล์ปฐมฤกษ์เฉินตู เชียงใหม่ ในครั้งนี้คาดการณ์ว่าจะมีการเปิดบินตรงทุกวัน วันละไฟล์ทเลยทีเดียว ในขณะเดียวกัน ทางบริษัท Sichuan Global Travel International Travel Sevice จะประสานกับเมืองต่างๆของประเทศจีนให้บินตรงเข้ามาเที่ยวเชียงใหม่อย่างต่อเนื่อง

TCEB จับมือภาคีเปิดตัวงาน World Tea & Coffee Expo 2023 ที่เชียงใหม่

เมื่อเวลา 13.40 น. วันที่ 19 มกราคม 2566 ที่ร้านอาหารชิดลมคาเฟ่ แอนด์ เรสเตอร์รองท์ เชียงใหม่ ดร.จุฑา ธาราไชย ผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ ภาคเหนือ (สสปน.) นายวีรพงศ์ ฤทธิ์รอด รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ น.ส.จงรัก อิ่มใจ ผู้อํานวยการสํานักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1 น.ส.สุลัดดา ศรุติลาวัลย์ ผู้อํานวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สํานักงานเชียงใหม่ นายสงกรานต์ มูลวิจิตร นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชํานาญการพิเศษ หัวหน้ากลุ่มนโยบายและแผนงานสํานักงานอตุสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ และนายสุรพล ปลื้มใจ ผู้อํานวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 ร่วมแถลงข่าวการจัดงาน World Tea & Coffee Expo 2023 ซึ่งเป็นงานประชุมและแสดงสินค้าในอุตสาหกรรมชาและกาแฟระดับโลก ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 26-29 มกราคม 2566 ณ one nimman จ.เชียงใหม่ เพื่อแสดงศักยภาพทางด้านการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชาและกาแฟจากแหล่งปลูกที่ดีที่สุด
ดร.จุฑา กล่าวว่า เรามีเป้าหมายและผลักดันสร้างชื่อเสียงให้ภาคเหนือเป็น “ถิ่นของชาและกาแฟระดับโลก” จากการจัดงานประชุมและแสดงสินค้า World Tea & Coffee Expo 2023 กําหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 26-29 มกราคม 2566 ณ ศูนย์การค้า One Nimman ย่านธุรกิจที่สําคัญใจกลางเมืองเชียงใหม่ ซึ่งทาง สสปน. ใช้กลไก การแสดงสินค้าขับเคลื่อนพืชเศรษฐกิจระดับภาค เพื่อสร้างชื่อเสียง (Destination Branding) ต่อยอดความพร้อมของ ภาคเหนือตอนบนในการเป็นผู้นําอุตสาหกรรมชาและกาแฟระดับโลก ซึ่งเป็นโครงการที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2563 โดยในปีนี้จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “A Cup of Success” เพื่อเน้นย้ำถึงความสําเร็จของธุรกิจชาและกาแฟในไทยที่เติบโตอย่างก้าวกระโดด รวมถึงความสําเร็จที่กําลังจะเกิดขึ้นในอนาคต
“ภายในงานแบ่งเป็นสองส่วน ได้แก่ ส่วนของงานแสดงและจําหน่ายสินค้า ในบริเวณพื้นที่ลาน กิจกรรม กลางแจ้ง และส่วนของงานประชุมวิชาการนานาชาติในชื่อ The 3rd Tea and Coffee International Symposium ณ ห้องประชุม Nimman Convention Centre โดยในส่วนของงานแสดง สินค้าประกอบด้วยบูธของผู้ประกอบการจํานวน 50 ราย แบ่งเป็นบูธผู้ประกอบการชาและกาแฟภาคเหนือ รวมทั้งภาคอื่น ๆ จํานวน 45 ราย และต่างประเทศจํานวน 5 ราย จากประเทศบราซิล กัวเตมาลา ลาว ญี่ปุ่น และเวียดนาม โดยท้ังหมดเป็นผู้ประกอบการที่มีคุณสมบัติ ผ่านเกณฑ์ตามที่ สสปน. กําหนดไว้ ไม่ว่าจะเป็นในด้านความน่าเชื่อถือ คุณภาพ และมาตรฐานของสินค้า การ นํานวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้ในกระบวนการผลิต และศักยภาพที่สามารถต่อยอดธุรกิจต่อไปได้ในอนาคต”
ดร.จุฑา กล่าวว่า อีกหนึ่งกิจกรรมที่จะเป็นโอกาสทางการค้าที่สําคัญของผู้ประกอบการคือ การเจรจาธุรกิจ (Business Matching) ซึ่งในครั้งนี้มีการเชิญคู่ค้า หรือ buyer จากทั่วประเทศ 20 ราย ทั้ง ซีพี โออาร์ และแบล็คแคนยอน และจากต่างประเทศ จํานวน 5 ราย โดยการเจรจาจะมีทั้งรูปแบบออฟไลน์ภายในงาน และการเจรจาผ่านทางออนไลน์ ทั้งนี้ตัวเลขคาดการณ์มูลค่าซื้อขายจากการเจรจาธุรกิจอยู่ที่ 8 ล้านบาท และส่วนของการซื้อขายภายในงานอยู่ที่ 2 ล้าน บาท ในส่วนของผู้เข้าชมนั้น เดิมตั้งเป้าไว้ที่ 1,000 คน แต่ด้วยสถานที่จัดงานที่ตั้งอยู่ใจกลางเมือง จึงมั่นใจว่าจะมีผู้เข้าชมมากกว่าที่ตั้งเป้าไว้อย่างแน่นอน
ทั้งนี้ในส่วนของงานประชุมวิชาการนานาชาติ Tea & Coffee International Symposium จะเป็น การประชุม Hybrid แบบเต็มวันในวันที่ 26 มกราคม 2565 ณ ห้องประชุม Niman Convention ซึ่งอยู่ใน บริเวณเดียวกัน โดยได้เชิญนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญจากในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งกงสุลต่างประเทศ มาแลกเปลี่ยน และให้ความรู้ในห้วข้อต่าง ๆ ได้แก่ A cup Of success : ความสําเร็จของ ธุรกิจชาและกาแฟ ในไทย บทบาทความสําคัญ ของหน่วยงานต่าง ๆ ในการมีส่วนร่วมและผลักดันอุตสาหกรรมชาและกาแฟ, Light Cup : ทิศทางตลาด ชา และกาแฟไทยกับแนวโน้มตลาดโลก, Meduim Cup : ตลาด ชาและกาแฟใน ไทย โอกาสและอุปสรรคในการเติบโต, Dark Cup : เจาะลึก การส่งออก และการเข้าสู่ตลาดต่างประเทศ และ Special Cup : Tea and Coffee Tourism ชากาแฟกับ โอกาสในการต่อยอดอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
นอกเหนือจากนี้ ยังมีกิจกรรมพิเศษ A Cup of Country ซึ่งเป็นการนําเสนอ สาธิตการชง เครื่องดื่มชา กาแฟจากประเทศต่าง ๆ เพื่อแลกเปลี่ยนและแสดงถึงทั้งคุณค่าและความยิ่งใหญ่ของเครื่องดื่มชา กาแฟที่แทรกซึม อยู่ในวิถีชีวิตของผู้คน ทั้งยังเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมทั่วโลกมายาวนานจนถึงปัจจุบัน
ทั้งนี้ น.ส.สุลัดดา ศรุติลาวัณย์ ผู้อํานวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สํานักงานเชียงใหม่ กล่าวว่า เชียงใหม่มีร้านกาแฟที่จดทะเบียนการค้า จำนวน 3,510 ร้าน เป็นอันดับ 2 ของประเทศรองจากกรุงเทพมหานคร ซึ่งจากการสำรวจงานวิจัยพบว่า ในปี 2020-2027 การท่องเที่ยวเชิงอาหารเติบโตทั่วโลก 16-18% ต่อปี จากจำนวน 5,400 คนต่อปี สร้างรายได้ 1,700 ล้านเหรียญสหรัฐ ถือว่าเป็นกลุ่มลูกค้าที่ใหญ่มาก เพราะการดื่มชาและกาแฟถือเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต โดยในส่วนของคนไทยถือว่าชื่นชอบการเข้าร้านกาแฟเพื่อดื่มและเสพบรรยากาศในหลากหลายรูปแบบ
นายวีรพงศ์ ฤทธิ์รอด รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า ตัวเลขการเติบโตของกาแฟในภาคเหนือ รวมกว่า 1 หมื่นล้านบาท ในช่วง 2-3 ปีนี้ และสำหรับ จ.เชียงใหม่ น่าจะมีตัวเลขมากกว่าครึ่งของการเติบโต เพราะเรามีทั้งพื้นที่ผลิตและร้านค้า และผลผลิตในประเทศไม่เพียงพอต่อการส่งออก ยังต้องนำเข้าเพื่อนำเมล็ดมาบดคั่วและส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศอีกครั้ง
นายสุรพล ปลื้มใจ ผู้อํานวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 กล่าวว่า นอกจากสุดยอดกาแฟที่มีเอกลักษณ์จาก 9 ยอดดอยของเชียงใหม่ แล้วยังมีกาแฟดีจากมณีพฤกษ์ จ.น่าน ซึ่งได้รับการนำไปเสิร์ฟในงานเอเปคที่ผ่านมา และกาแฟระดับท็อปเทรนด์ จ.เชียงราย และแม่ฮ่องสอน

เทศบาลนครเชียงใหม่จัดงานใหญ่“ ชุมชน ชุมใจ : เทศกาลศิลปะ งานฝีมือ และอาหารนคร เชียงใหม่”

 

เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2566 ที่ ลานอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่เทศบาลนครเชียงใหม่โดยนายจิโรจน์ โรจนเสาวภาคย์ รองนายกเทศมนตรีเทศบาลนครเชียงใหม่ ,นางน้ำฝน รสจรรยา ผู้แทนจากชุมชนในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ และรศ.ดร.สันต์ สุวัจฉราภินันท์ ผู้แทนจากสถาบันการศึกษาร่วมกันแถลงข่าว “ ชุมชน ชุมใจ : เทศกาลศิลปะ งานฝีมือ และอาหารนคร เชียงใหม่”โดยมีพระครูปลัดอานนท์ วิสุทโธ เจ้าอาวาสวัดล่ามช้างและเจ้าคณะตำบลศรีภูมิเขต4 พร้อมทั้งนางนุสรา ยันตรโกวิท ปลัดเทศบาลนครเชียงใหม่มาร่วมงาน

เป็นที่ทราบกันดีว่าเชียงใหม่ เป็นเมืองศูนย์กลางทางด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของภาคเหนือเป็นเมือง ที่มีมรดกทางวัฒนธรรม ศิลปะ และสถาปัตยกรรมที่หลากหลาย จึงทำให้เชียงใหม่กลายเป็นจุดหมายปลายทางของการ ท่องเที่ยว รวมถึงเป็นจุดหมายของการอยู่อาศัยของผู้คนจากที่ต่าง ๆ จากปัจจัยดังกล่าว ทำให้เมืองเชียงใหม่ กลายเป็นเมืองที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็วและมีความหลากหลายในมิติต่าง ๆ อยู่ในอัตราสูง

เทศบาลนครเชียงใหม่ได้มีการดำเนินโครงการที่มุ่งเน้นและส่งเสริมให้ภาคประชาชน ประชาสังคม และ นักวิชาการเข้ามามีส่วนร่วมในโครงการต่าง ๆ ให้คนในชุมชนซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่เป็นผู้ร่วมออกแบบ วางแผน และ กำหนดรูปแบบของกิจกรรมต่าง ๆ ให้คนในชุมชนซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่เป็นผู้ร่วมออกแบบวางแผนและกำหนดรูปแบบของกิจกรรมต่างๆซึ่งวิธีการดำเนินงานดังกล่าวถือเป็นแนวทางการทำงานอย่างบูรณาการ เป็นการ สร้างความตระหนักและสร้างความรู้สึกในการเป็นเจ้าของเมือง และทำให้เกิดความภาคภูมิใจ และจะนำไปสู่ความยั่งยืน ได้ในที่สุด

อีกทั้งเทศบาลฯ ได้มีโครงการจัดตั้งศูนย์สร้างสรรค์เพื่อการพัฒนาเมืองเชียงใหม่ ในบริเวณพื้นที่หอพื้นถิ่น ล้านนา เพื่อให้เป็นสถานที่ที่ทุกคน ทุกภาคส่วนสามารถใช้เป็นพื้นที่พบปะ พูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และจัดเก็บ ข้อมูล (Data) เมือง

ในปี 2566 นี้ เทศบาลนครเชียงใหม่ได้จัดงาน “ ชุมชน ชุมใจ : เทศกาลศิลปะ งานฝีมือ และอาหารนคร เชียงใหม่” ขึ้น เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์การดำเนินงานเกี่ยวกับการอนุรักษ์และพัฒนาเมือง ของเทศบาลนครเชียงใหม่กิจกรรมภายในงานประกอบไปด้วย การจัดแสดงนิทรรศการผลงานด้านการอนุรักษ์และ พัฒนาเมืองของเทศบาลนครเชียงใหม่ที่ได้มีความร่วมมือกับภาคส่วนต่าง ๆ โดยมีกำหนดจัดงานตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 2 มีนาคม 2566 ณ บริเวณศูนย์มรดกเมือง เทศบาลนครเชียงใหม่ และพื้นที่เชื่อมต่อบริเวณลาน อนุสาวรีย์สามกษัตริย์ถึงลานด้านหน้าหอพื้นถิ่นล้านนา

โดยทุกวันเสาร์ และวันอาทิตย์ ตลอดทั้งเดือนกุมภาพันธ์ จะมีการแสดงและจำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์ สร้างสรรค์ Workshop โดยภาคชุมชน การแสดงคีตศิลป์และนาฏยศิลป์สร้างสรรค์ กิจกรรมย้อนวันวาน “เชียงใหม่ กลางแปลง” การแสดง 3D Projection Mapping ประกอบเสียงและสื่อผสม AR สร้างสรรค์จินตนาการผสมเทคโนโลยี สมัยใหม่ พร้อมทั้งเปิดให้เข้าเยี่ยมชมหอกลางเวียงในบรรยากาศ Night Museum จนถึงเวลา 20:30 น.

และจะมีพิธี เปิดงานชุมชนชุมใจ : เทศกาลศิลปะ งานฝีมือ และอาหารนครเชียงใหม่ และเปิดศูนย์สร้างสรรค์เพื่อการพัฒนาเมือง เชียงใหม่ ในวันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 18.00 น. ณ ลานอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

น้องแสตมป์ นักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คว้ามงกุฎนางสาวเชียงใหม่ 2566พร้อมเงินรางวัล1 แสนบาท

เมื่อเวลา 22.00 น.วันที่ 12 ม.ค.ที่ บริเวณเวทีกลาง ภายในงานฤดูหนาวและงาน OTOP ของดีเมืองเชียงใหม่ ประจำปี 2566 ได้มีการประกวดนางสาวเชียงใหม่ ประจำปี 2566 ในรอบตัดสิน ภายหลังได้ดำเนินการคัดเลือกสาวงามผู้เข้าประกวดที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับตำแหน่งจนเหลือ 20 คนสุดท้าย เข้ามาประกวดในรอบตัดสินท่ามกลางบรรยากาศสุดคึกคักที่เต็มไปด้วยกองเชียร์แน่นเวที


โดยการประกวดรอบตัดสินในวันนี้ สาวงามทั้ง 20 คน ได้ออกมาเดินโชว์ตัวให้ประชาชนที่มาเฝ้ารอได้ยลโฉมกันแบบเต็มตา เริ่มจากชุดไทยล้านนาตามแบบสาวเหนือ ต่อด้วยชุดว่ายน้ำสุดเซ็กซี่ท่ามกลางสายลมหนาวพัดโชยลงมาจากดอยสุเทพ จากนั้นมีการคัดตัวจากสาวงาม 20 คนแรก ให้เหลือ 10 คน ก่อนที่จะคัดเลือกอีกครั้งให้เหลือเพียง 5 คนสุดท้าย มาประชันความงาม พร้อมทั้งตอบคำถามเพื่อแสดงทัศนคติและปฏิภาณไหวพริบต่อคณะกรรมการ แล้วจึงประกาศผลตัดสินการประกวดแต่ละตำแหน่งจนถึงคำแหน่งที่สามงามทั้ง5 คนและผู้ชมรอคอยก็คือตำแหน่งนางสาวเชียงใหม่ ก็คือ นางสาวเกศวริน ศรีปิ่นเป้า หรือ “น้องแสตมป์” นักศึกษาสาว วัย 20 ปี จากคณะสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้เข้าประกวดหมายเลข 10 ให้เป็นผู้ชนะเลิศการประกวดนางสาวเชียงใหม่ ประจำปี 2566 คว้ามงกุฎเพชรรูปนกยูง พร้อมสายสะพาย ถ้วยและเงินรางวัล 100,000 บาท ไปครอบครองอย่างสง่างาม

โดยได้รับเกียรติ นางกุสุมาล พงษ์สิทธิถาวร นายกเหล่ากาชาดจังหวัดเชียงใหม่ เป็นผู้สวมมงกุฎและสายสะพาย พร้อมทั้งมอบรางวัลอันทรงเกียรติให้


ทั้งนี้ นางสาวเกศวริน ศรีปิ่นเป้า หรือ “น้องแสตมป์” ถือเป็นนางสาวเชียงใหม่ คนที่ 70 ที่ได้ครอบครองมงกุฎแห่งตำนาน บนเวทีการประกวดนางสาวเชียงใหม่ ที่สร้างประวัติศาสตร์ตำนานความงามบนเวทีประกวดมายาวนานถึง 90 ปี และหลังจากนี้จะทำหน้าที่เป็นทูตทางวัฒนธรรม ในการช่วยสืบสานวัฒนธรรมที่งดงาม และเข้ามามีส่วนร่วมในการประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่างๆ ของจังหวัดเชียงใหม่ และยังจะได้เป็นตัวแทนของจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อที่จะก้าวขึ้นไปสู่การประกวดนางงามในเวทีระดับสากลต่อไป


ส่วนรองอันดับ 1 นางสาวเชียงใหม่ ประจำปี 2566 ได้แก่ หมายเลข 4 สุพรรษา กันนะ การศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่รองอันดับ 2 หมายเลข 11 กวินธิดา วสุวัต การศึกษาคณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รองอันดับ 3 หมายเลข 2 สกุณา ปาปวน การศึกษาคณะบริการธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้และ รองอันดับ 4 หมายเลข 18 ปองทิพย์ธิดา วจิตรสุวรรณ การศึกษาคณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านน


ส่วนรางวัลพิเศษอื่นๆ ได้แก่ รางวัล Miss Alist 2023 ตกเป็นของ นางสาวชนิตา บลูเมน , รางวัลขวัญใจ LE CHAMONIX CONDO ตกเป็นของ นางสาวกวินธิดา วสุวัต และ รางวัลขวัญใจสื่อมวลชนในปีนี้ ตกเป็นของ นางสาวปิรวดี ขำสุวรรณ์ //

“เทศกาลงานออกแบบเชียงใหม่ 2565” ภายใต้ธีม “Local ‘Rise’ation สร้างสรรค์ ท้องถิ่น เติบโต” มาร่วมค้นหาไอเดีย ส่งเสริมเศรษฐกิจท้องถิ่นภาคเหนือ

กลับมาพบกันอีกครั้งกับ “เทศกาลงานออกแบบเชียงใหม่ 2565” หรือ “Chiang Mai Design Week 2022”ระหว่างวันที่ 3-11 ธันวาคม 2565 ณ ย่านอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ ย่านล่ามช้าง ย่านช้างม่อย ย่านสันกําแพง และกระจายตัวทั่วเมืองเชียงใหม่ ภายใต้ธีม “Local ‘Rise’ation สร้างสรรค์ ท้องถิ่น เติบโต” ร่วมพลิกฟื้นจังหวัดเชียงใหม่ให้กลับมามีสีสัน อีกครั้ง เพื่อสร้าง การเติบโตของเครือข่าย กลุ่มผู้ประกอบการ นักออกแบบ ศิลปิน ช่างฝีมือ ให้มีศักยภาพอีก ทั้งยังกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่น ผ่านการสร้างมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์ ท้องถิ่น รวมถึงช่วยผลักดัน และส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยวในภูมิภาคมากขึ้น

โดยได้จัดให้มีพิธีเปิด เทศกาลงานออกแบบเชียงใหม่ 2565 อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2565 ณ หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ โดยได้รับเกียรติจาก ดร.อรรชกา สีบุญเรือง ประธาน กรรมการสํานักงานส่งเสริมเศษฐกิจสร้างสรรค์ เป็นประธานเปิดเทศกาลฯ พร้อมด้วย นายศักดิ์ชัย คุณานุวัฒน์ชัยเดช รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ นางวิภาวัลย์ วรพุฒิพงค์ รองนายกองค์การ บริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ นายอัศนีบูรณุปกรณ์นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่และดร.ชาคริต พิชญางกูร ผู้อํานวยการสํานักงานส่งเสริมเศษฐกิจสร้างสรรค์ ร่วมพิธีเปิดอย่างเป็น ทางการ

ทั้งนี้กิจกรรมดังกล่าว สํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA ได้ร่วมกับ จังหวัดเชียงใหม่ หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรระหว่างประเทศ และกลุ่มธุรกิจสร้างสรรค์ทั้ง ใน จังหวัดเชียงใหม่และภายในประเทศ มากกว่า 200 ราย และหน่วยงานจากต่างประเทศกว่า 9 หน่วยงาน จัด “เทศกาลงานออกแบบเชียงใหม่ 2565” (Chiang Mai Design Week 2022) เพื่อเป็นการผลักดันและสนับสนุนอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ และเศรษฐกิจท้องถิ่นภาคเหนือ ที่จะแสดงถึง ศักยภาพในการทํางานของทุกภาคส่วน เช่น ชุมชน นักออกแบบ ช่างฝีมือ ศิลปิน ผู้ประกอบการธุรกิจในภาคเหนือ ให้มีพื้นที่ในการนําเสนอผลิตภัณฑ์ ผลงาน ความคิดสร้างสรรค์ การจําหน่ายสินค้า ไปจนถึงการทดลองตลาด ที่จะนําไปสู่การยกระดับ คุณภาพชีวิตของคน ชุมชน รวมทั้งเป็นกําลังสําคัญในการช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ร่วมสร้างสรรค์ ท้องถิ่นภาคเหนือให้เข้มแข็ง


“เทศกาลงานออกแบบเชียงใหม่ 2565” (Chiang Mai Design Week 2022) เปิดโอกาสให้มีการ ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ประสบการณ์และทรัพยากร ซึ่งนําไปสู่การพัฒนาต่อยอด การ ปรับตัวของธุรกิจสร้างสรรค์ ทั้งผลิตภัณฑ์และบริการให้ตอบโจทย์ความต้องการที่เปลี่ยนแปลง ไป สร้างรายได้และเกิดการจ้างงานใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและสร้างความพร้อม เสริมความ แข็งแกร่งของภาคธุรกิจท้องถิ่นภาคเหนือและย่านสร้างสรรค์ให้สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งในปีที่ผ่านมา (ปี 2021) มีผู้เข้าร่วม 132,711 คน สร้างมูลค่าให้ทาง เศรษฐกิจ กว่า 485 ล้านบาท

ดร.อรรชกา สีบุญเรือง ประธานกรรมการสํานักงานส่งเสริมเศษฐกิจสร้างสรรค์ กล่าวว่า “เทศกาล งานออกแบบเชียงใหม่ นับเป็นเทศกาลฯที่มีความสําคัญมากต่อภูมิภาคภาคเหนือ ที่จะช่วยขับ เคลื่อนให้ทุกภาคส่วนได้มีโอกาสร่วมกันผลักดันเศรษฐกิจระดับจังหวัด นอกจากนี้รัฐบาลได้มีนโย บายส่งเสริมภาพลักษณ์ของประเทศด้วย Soft Power ในการเสริมสร้าง บทบาทความเป็นผู้นําของ ไทยในเวทีโลก และขยายความออกไปผ่านความ สามารถของนัก สร้างสรรค์ การใช้ต้นทุนทางสังคม และวัฒนธรรม ผ่านการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ และการจัดเทศกาลสร้างสรรค์ต่าง ๆ ใน ประเทศไทย จึงเป็นภาพสะท้อนศักยภาพของประเทศ ไทยต่อเวทีโลกอีกด้วย”

นายศักดิ์ชัย คุณานุวัฒน์ชัยเดช รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า “ทิศทางการพัฒนาเมือง ของ จังหวัดเชียงใหม่นั้นมีความสอดคล้องกับแนวทางการทํางานของ สํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจ สร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาและยกระดับ คุณภาพ ชีวิตของผู้คน ชุมชน เศรษฐกิจของประเทศ โดยการจัดเทศกาลงานออกแบบเชียงใหม่ เป็นหนึ่งใน กุญแจสําคัญ ที่ช่วยสนับสนุนอุตสาหกรรมสร้างสรรค์และเศรษฐกิจท้องถิ่นภาคเหนือ ให้เติบโตผ่าน เทศกาลที่เกิดขึ้นทั่วเมืองเชียงใหม่ นอกจากนี้การที่จังหวัดเชียงใหม่ ได้รับเลือกให้เป็นเมืองเทศกาล โลก เมื่อเดือนกันยายน 2565 ที่ผ่านมา ตอกย้ําว่า “เชียงใหม่เป็นเมืองแห่งความสร้างสรรค์” ระดับ โลก และเป็นมุดหมายสําคัญในการเดินทาง ของนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก”

นางวิภาวัลย์ วรพุฒิพงค์ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า “การจัดเทศกาลฯ ในครั้งนี้จะเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงใหม่ ทั้งในเขตอําเภอเมือง อําเภอสันกําแพง และพื้นที่อื่น ๆ จะเป็นการตอกย้ําให้เชียงใหม่ เป็นเมืองแห่งความสร้างสรรค์ (Creative City) เพื่อเป็นศูนย์กลางเครือข่ายการผลิต การค้า และการบริการของธุรกิจสร้างสรรค์ของ ภูมิภาคอาเซียน (Creative Hub of ASEAN) ต่อไป”

นายอัศนี บูรณุปกรณ์ นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ กล่าวว่า “การจัดเทศกาลงานออกแบบ เชียงใหม่ ในครั้งนี้ เป็นภาพสะท้อนถึงศักยภาพทางด้านการพัฒนาคน ชุมชน และพื้นที่ สร้างสรรค์ โดยรอบเมืองเชียงใหม่ ให้สามารถก้าวต่อได้อย่างยืนระยะมั่นคงต่อไป ซึ่งย่าน อนุสาวรีย์สามกษัตริย์ ย่านล่ามช้าง ย่านช้างม่อย และย่านสันกําแพง ถือเป็นหน่ึงในย่านเศรษฐกิจ สร้างสรรค์ที่สําคัญ ของ การจัดเทศกาลฯ ตอกย้ําถึงภารกิจของเทศบาลนครเชียงใหม่ ที่มุ่งเน้นการทําย่านสร้างสรรค์ที่อาศัย การมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในการร่วมกันพัฒนาย่านนั้น ๆ อย่างยั่งยืน”

ดร.ชาคริต พิชญางกูร ผู้อํานวยการสํานักงานส่งเสริมเศษฐกิจสร้างสรรค์ กล่าวว่า “สําหรับปีที่ ผ่าน มาหลังจากเกิดเหตุการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ภาครัฐ และภาคเอกชน ได้มีโครงการที่ช่วย ผลัก ดันและส่งเสริม ให้กลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ทั่วประเทศ และทุกภาคส่วนต้องเร่งปรับตัว ให้ทันกับ การเปลี่ยนแปลง CEA จึงได้จัดเทศกาลงานออกแบบ เชียงใหม่ เป็นประจําต่อเนื่องในทุก ๆปี สําหรับ เทศกาลฯปีนี้ จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 8 ระหว่างวันที่ 3-11 ธันวาคม 2565 ภายใต้ธีม “Local ‘Rise’ation สร้างสรรค์ ท้องถิ่น เติบโต” โดยมุ่งเน้นการจัดกิจกรรมในพื้นที่ย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของเชียงใหม่ และการสร้างเครือข่าย ระหว่างประเทศกว่า 9 ประเทศ ให้เข้ามามีบทบาทในการเชื่อมต่อทางด้าน เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมร่วมกับประเทศไทย”


โดยในงานดังกล่าวได้รวบรวม 5 ย่านไฮไลต์สําคัญใน “เทศกาลงานออกแบบเชียงใหม่ 2565” (Chiang Mai Design Week 2022) ได้แก่ย่านช้างม่อย
● นิทรรศการ Gastro Economy เศรษฐกิจ “การกินอยู่” กู้โลกอย่างไรในอนาคต โดย CEAร่วมเปิดมุมมองใหม่ในการพัฒนาภูมิภาค แง่มุมบทบาทของอาหาร ต่อพืชกับคน ศิลปะ- ธุรกิจการประกอบอาหาร และส่งต่อวิถีอาหารไทยสู่การสร้างสรรค์สังคมเพื่ออาหารและความ ยั่งยืน ณ CEA เชียงใหม่
● NFTARTCON2022:DigitalExhibition&ArtMarketโดยNFTARTCON2022 นิทรรศการศิลปะ Crypto ที่ดีที่สุดจากทั่วโลก โดยการสนับสนุนของศิลปินในท้องถิ่นและนัก สร้างสรรค์ ภายในงานประกอบด้วยกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การเสวนาโดยครีเอเตอร์และนัก พัฒนา NFT ชั้นนํา เวิร์กช็อป และตลาดนัด NFT ณ หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ และ โกดังมัทนา ถนนช้างม่อย
● นิทรรศการ Local Cabinets โดย Homecoming โปรเจ็กต์พานักสร้างสรรค์กลับบ้าน (เกิด) นําไปสู่การสร้างสรรค์ที่นําเสนอผลงานที่สะท้อนมุมมองและความคิดของนักสร้างสรรค์ หลาก หลายสาขาที่กลับมาช่วยกันสะท้อนมุมมองความคิดผ่าน 5 พื้นที่น่าสนใจของ เชียงใหม่ เช่น คูเมือง เชียงดาว สันป่าข่อย อมก๋อย และคลองแม่ข่า ส่งต่อแรงบันดาลใจ ด้านการต่อยอดให้ กับท้องถิ่นของตน ที่ โกดังมัทนา ถนนช้างม่อย


● นิทรรศการ Local Composites โดย Homecoming โปรเจ็กต์พานักสร้างสรรค์กลับบ้าน (เกิด)นิทรรศการที่นักสร้างสรรค์หลากหลายสาขา สํารวจและค้นหาวัสดุที่เป็นมิตร ต่อสิ่ง แวดล้อมในจังหวัดเชียงใหม่ มาดัดแปลงใหม่ให้เกิดการเพิ่มมูลค่าทางวัสดุนําเสนออัตลักษณ์ ของพื้นที่นั้น ๆ เพื่อส่งต่อให้กับผู้เข้าชมนําไปปรับใช้หรือต่อยอดต่อไป ณ โกดังมัทนา ถนน ช้างม่อย


● มาหา…สนุก โดย TAM : DA ชวนมองเมืองเชียงใหม่ ผ่านผลงานศิลปะจากวัสดุเหลือใช้ใน พื้นที่ที่ถูกซ่อนไว้ในย่านช้างม่อย ให้ได้ค้นหา สอดส่องเรื่องราวในย่านอย่างสนุกสนานย่านอนุสาวรีย์สามกษัตริย์
● POP Market โดย CEA ตลาดสินค้าดีไซน์สุดสร้างสรรค์ที่สะท้อนอัตลักษณ์ท้องถิ่นเหนือ ทั้งงานหัตถกรรม สินค้าแฮนด์เมด สินค้าไลฟ์สไตล์ ของตกแต่งบ้าน เครื่องประดับ อาหารและ เครื่องดื่มกว่า 90 แบรนด์ รวมถึงการแสดงดนตรีจากศิลปินท้องถิ่นและกิจกรรมเวิร์กช็อปมา กมายตลอด 9 วัน ณพิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา


● Locating the Locals: A Virtual Exhibition by PTT การนําเสนอผลงานผู้ที่ได้รับรางวัลจาก การประกวดศิลปะของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) มาแสดงพร้อมกับการใช้ เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ให้กับผู้ชมแบบเสมือนจริง โดยแนวคิดคือการ เดินทางเพื่อค้นหานิยามของความเป็น “ท้องถิ่น” ทั้งในทางศิลปะและตัวตนของศิลปิน ณ หอ ศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ย่านล่ามช้าง
● Lam Chang International Films โดย CEA กิจกรรมฉายหนังกลางแปลงจากต่างประเทศในวัดล่ามช้าง ที่ชวนให้ผู้ชมได้หวนรําลึกว่าครั้งหนึ่งในอดีตที่แห่งนี้เคยใช้เป็นสถานที่ จัดงาน มหรสพที่สําคัญแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ โดยได้รับความร่วมมือจากองค์ก รใน ประเทศไทย ญี่ปุ่น รัสเซีย และฝรั่งเศส

● กาดกองเก่าล่ามช้าง โดย ชุมชนล่ามช้าง / CEA ตลาดชุมชนที่ได้รวบรวมสินค้า อาหาร เครื่องดื่มและบริการท้องถิ่น โดยคนในชุมชนและชุมชนใกล้เคียงร่วมมือร่วมใจกันจัดตั้งข้ึน พร้อมต้อนรับอย่างอบอุ่น นอกจากนี้ยังมี Chiang Mai Busking งานแสดงดนตรีจากศิลปินเปิดหมวกตามจุดต่าง ๆ ในชุมชนล่ามช้าง และ World music งานดนตรีจากกลุ่มต่อล้อ ต่อ เสียง ท่ีจะสร้างสีสันและบรรยากาศให้ย่านครื้นเครงอีกครั้ง ณ วัดล่ามช้าง
● เวิร์กช็อปกิจกรรมสําหรับเด็ก อาทิ ศิลปะภาพพิมพ์กับวัสดุและสิ่งแวดล้อมรอบตัวย่านสันกําแพง
● โหล่งฮิมคาว กิจกรรมคู่ขนานไปกับเทศกาล โดยมีเวิร์กช็อปสนุก ๆ มากมาย อาทิ เซาะเศษแป๋งศิลป์ กิจกรรมที่นําเอาวัสดุเหลือใช้มาดัดแปลงเป็นผลงานศิลปะสุดเจ๋ง กาดต่อนยอน ตลาดที่จัดจําหน่ายสินค้างานคราฟท์และบริการสร้างสรรค์ ไปจนถึงตลาดอาหารปลอดภัย อย่าง Green your food
● หมู่บ้านหัตถกรรมต้นเปา นําเสนอความเป็นหมู่บ้านอัตลักษณ์ชุมชนหัตถกรรม และการ เป็นหมู่บ้านงานอาร์ตที่ได้รับความร่วมมือจากนักสร้างสรรค์ท้องถิ่นและนักสร้างสรรค์จาก ประเทศรัสเซียย่านอื่น ๆ


● Chiang Mai Street Jazz Festival 2022 เทศกาลดนตรีแจ๊สแห่งปี ภายใต้คอนเซ็ป Standby me, Stand by humanity ที่พูดถึงการเชื่อมโยงความหลากหลายของผู้คน สังคม การศึกษา สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และการเมือง ผ่านสุนทรียภาพของดนตรี
● LABBfest 2022 งานแสดงดนตรีสดและการบันทึกภาพที่ผสมผสานระหว่าง MusicShowcase กับ Visual Art เป็นการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมทางด้านดนตรีในระดับนานาชาติ ที่ Club Carving CNX

พบกับกิจกรรมดี ๆ ที่จะสร้างสรรค์เมืองเชียงใหม่ให้น่าอยู่มากขึ้น ในงาน “เทศกาลงาน ออกแบบเชียงใหม่ 2565 ” (Chiang Mai Design Week 2022) ตั้งแต่วันที่ 3-11 ธันวาคม 2565 ณ ย่านอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ ย่านล่ามช้าง ย่านช้างม่อย ย่านสันกําแพง และทั่วเมือง เชียงใหม่ ติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่ www.chiangmaidesignweek.com หรือ Facebook: Chiang Mai Design Week

เทศบาลนครเชียงใหม่การปรับปรุง “คลองแม่ข่า” พัฒนาสองฝั่งคลองให้เป็นแลนด์มาร์คของเมืองจนถึงสงกรานต์

น้ำแม่ข่า หรือ คลองแม่ข่า แหล่งน้ำสำคัญของเมืองเชียงใหม่ ที่ได้รับการพัฒนา ปรับปรุง ตามโครงการก่อสร้างระบบท่อรวบรวมน้ำเสียของสองฝั่งคลอง พร้อมปรับภูมิทัศน์ โดยเริ่มดำเนินการเฟสแรกที่ ถนนระแกง – ประตูก้อม (สถานีสูบน้ำเสียที่ 6) พร้อมชูแผนพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้คลองแม่ข่ากลับมาเป็นเส้นเลือดหล่อเลี้ยงชาวเชียงใหม่อีกครั้ง โดยให้ความสำคัญกับการบำบัดน้ำ ควบคู่กับการทำให้ชุมชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น จนเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมในปัจจุบันและเป็นแลนด์มาร์คปีใหม่ 2566 จนถึงสงกรานต์เชียงใหม่

ทั้งนี้ ทางเทศบาลนครเชียงใหม่ นำโดย นายอัศนี บูรณุปกรณ์ นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ พร้อมด้วย นายณภัทร ประเสริฐดี ผู้อำนวยการสำนักช่าง และ รศ.ชูโชค อายุพงศ์ นักวิชาการศูนย์วิชาการสนับสนุนการบริหารจัดการน้ำ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ร่วมพูดคุยให้ข้อมูลแก่สื่อมวลชน จ.เชียงใหม่ ถึงความเป็นมาของโครงการ วัตถุประสงค์ในการปรับปรุงคลองแม่ข่า รวมไปถึงภาพรวมการพัฒนาคลองแม่ข่า ที่ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานทั้งหมดในจังหวัดเชียงใหม่ และการให้ความสำคัญในเรื่องของระบบบำบัดน้ำ ที่จะทำให้ระบบนิเวศน์ ของคลองแม่ข่า กลับมามีชีวิตอีกครั้ง

ซึ่งน้ำแม่ข่า คลองน้ำสายหลักของชาวเชียงใหม่ ที่รู้จักกันดีในชื่อ “คลองแม่ข่า” มีต้นน้ำเริ่มจากอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ เป็นคลองที่มีความสำคัญมาตั้งแต่สมัยพญามังราย โดยเป็นสายน้ำที่หล่อเลี้ยงชาวเชียงใหม่ ทั้งเป็นเส้นทางสัญจร เป็นคูเมืองชั้นนอก และยังเป็นทางระบายน้ำ จากเดิม “คลองแม่ข่า” มีความอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งอาหาร และสร้างความชุ่มชื้นให้กับคนเชียงใหม่ แต่เมื่อความเจริญของเมืองเพิ่มขึ้น ทำให้คลองแม่ข่าถูกบุกรุกและมีการปล่อยน้ำเสียลงสู่คลองโดยไม่ผ่านการบำบัด ทำให้เกิดปัญหาน้ำเน่าเสียมานานหลายสิบปี

เทศบาลนครเชียงใหม่จึงได้ดำเนินโครงการก่อสร้างระบบท่อรวบรวมน้ำเสียของสองฝั่งคลอง พร้อมปรับภูมิทัศน์ ระยะที่ 1 ถนนระแกง – ประตูก้อม (สถานีสูบน้ำเสียที่ 6) ระยะทางประมาณ 750 เมตร ซึ่งได้รับความร่วมมือจากหลายหน่วยงาน ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน รวมถึงภาคประชาชน อาทิ การออกแบบของกลุ่มสถาปนิกในพื้นที่ มีผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการมาร่วมหาวิธีจัดการเรื่องระบบน้ำเสีย สร้างท่อรองรับน้ำทิ้งเพื่อส่งต่อไปบำบัดที่โรงงานบำบัดน้ำเสีย มีการกวดขันเรื่องการปล่อยน้ำลงในคลองแม่ข่าอย่างเคร่งครัด

การทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาเมือง ผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิทัศน์และพื้นที่สีเขียว ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาเศรษฐกิจเมือง ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับชุมชนที่มีรายได้น้อย รวมไปถึงการวางแผนเพื่อสร้างที่อยู่อาศัยใหม่สำหรับผู้ที่จำเป็นต้องย้ายออกจากชุมชน และที่สำคัญคือ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลการใช้พื้นที่คลองแม่ข่า เพื่อให้ชุมชนได้ดูแลบริหารจัดการพื้นที่ให้เป็นระบบระเบียบด้วยตนเอง

ปัจจุบัน “คลองแม่ข่า” กลับมาสร้างชีวิต เป็นเส้นเลือดหล่อเลี้ยงให้กับชุมชนสองฝั่งคลอง พัฒนาเศรษฐกิจของเมืองเชียงใหม่ให้กลับมาคึกคักอีกครั้ง พร้อมเปิดต้อนรับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และต่างชาติ ได้สัมผัสกลิ่นอายชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านสองฝั่งคลอง พร้อมสร้างเศรษฐกิจ สร้างรายได้ สร้างวิถีชีวิตที่ยั่งยืนให้กับชุมชน//

สวยงามตระการตาประเพณีเดือนยี่เป็งเชียงใหม่ประจำปี 2565 นักท่องเที่ยวเนืองแน่นสุดประทับใจ

นักท่องเที่ยวแน่นขนัดสองฝั่งปิง ชื่นชมงานประเพณีเดือนยี่เป็งเชียงใหม่ “ความสุขแห่งสายน้ำ ปิงนครามหานที”พลุงดงามตระการตา

งานประเพณีเดือนยี่เป็งเชียงใหม่ หรือประเพณีลอยกระทง เทศกาลแห่งความสุขกลับมายิ่งใหญ่ หลังจากงดการจัดงานมา2 ปีจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด19 โดยบรรยากาศในคืนวันที่ 8 พ.ย. ในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ มีการจัดงานประเพณีเดือนยี่เป็งในหลายจุด ที่โดดเด่นไฮไลท์การจัดงานที่บริเวณข่วงประตูท่าแพ และลานอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ใจกลางเมืองเชียงใหม่ที่มีการตกแต่งโคมล้านนาอย่างสวยงามและที่บริเวณวัดโลกโมฬีมีการจุดผางปะติ๊ดและแขวนโคมล้านนาอย่างงดงาม และในเวลา 19.00 น.

มีขบวนแห่โคมยี่เป็งของเทศบาลนครเชียงใหม่จากถนนท่าแพไปยังบริเวณหน้าสำนักงานเทศบาลนครเชียงใหม่ ท่ามกลางนักท่องเที่ยวชางต่างประเทศนับหมื่นคนที่มารอชมขบวนแห่ตลอดสองข้างทางระยะทางร่วม 3 กม.ที่บริเวณท่าน้ำแม่ปิงหน้าเทศบาลฯได้จัดแสดงทางวัฒนธรรมแสงสีเสียง”ความสุขแห่งสายน้ำ ปิงนครามหานที”ที่เวทีกลางแม่น้ำปิง สวยงามมากโดยมีนักท่องเที่ยวจากประเทศแถบยุโรบหลายพันคนนั่งชมกันริมที่นั่งริมน้ำแม่ปิงที่ภายในแม่น้ำเต็มไปด้วยกระทงน้อยใหญ่ที่ทีผู้ไปลอยกันจำนวนมากจนสว่างไสวไปทั่วคุ้งน้ำ เป็นภาพที่สวยงามน่าประทับใจยิ่ง และที่ริมแม่น้ำปิงยังจัดแสดงพลุเฉลิมพระเกียรติ”ใต้แสงแห่งความสุข ปิงนครามหานาที”ที่สวยงามยิ่งนักจนเรียกเสียงปรบมืออย่างกึกก้องแม่น้ำปิงจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศที่ได้ชมความประทับใจที่ยิ่งใหญ่ของงานประเพณีเดือนยี่เป็งเชียงใหม่ในครั้งนี้

วันที่ 9 พ.ย.นี้ ที่บริเวณหน้าข่วงประตูท่าแพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่สถานที่จัดงานประเพณีเดือนยี่เป็งเชียงใหม่ ได้มีการประกวดขบวนแห่กระทงใหญ่ โดยมีกระทงใหญ่จากหน่วยงานและสถานบันการศึกษารวมทั้งสถานกงสุลทั้งสหรัฐอเมริกา จีน เกาหลีญี่ปุ่นส่งเข้าร่วมโชว์ และประกวดจำนวน 15 ขบวน ขบวนกระทงใหญ่ที่จะชนะเลิศจะได้ครองถ้วยพระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขบวนทั้งหมดได้เคลื่อนไปยังสถานที่จัดประกวดหน้าสำนักงานเทศบาลนครเชียงใหม่ โดยแห่ไปตามถนนท่าแพ ถนนวิชยานนท์ ระยะทางประมาณ 3 กม.ท่ามกลางนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศนับหมื่นมาร่วมชมความงดงามในครั้งนี้

สำหรับการประปวดเทพียี่เป็งเชียงใหม่น้องสปาย น.ส.อักษรภัค ชัยอำมาตย์ ความตำแหน่งเทพียี่เป็งเชียงใหม่2565โดยมีรองอันดับ 1 น.ส.พนิดา เขื่อนจินดารองอันดับ 2 น.สเกศวริน ศรีปิ่นเป้ารองอันดับ 3น.ส. ณัฐชนก เคลือบนอกรองอันดับ 4 น.ส.สรินทร์ภัสร์ กันทะวงค์ โดยมีนายอัศนี บูรณุปกรณ์ นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ สวมมงกุฎให้บนเวทีประกวดเทพียี่เป็งเชียงใหม่ ในงานประเพณีเดือนยี่เป็งหรือลอยกระทงเชียงใหม่ เมื่อคืนวันที่ 9 พ.ย.นี้