“ชูชาติ กัลมาพิจิตร”พ่อเลี้ยงปางช้างแม่สา สิ้นแล้ว

สิ้นแล้ว พ่อเลี้ยงชูชาติ กัลมาพิจิตร เจ้าของปางช้างแม่สา ด้วยวัย 79 ปี ได้เสียชีวิตอย่างสงบที่บ้านพัก ด้วยโรคประจำตัว เมื่อเวลาประมาณ 22.00 น.วันที่ 27 มกราคม 2562 หลังจากที่ พ่อเลี้ยงชูชาติ ได้นอนรักษาตัวมานานร่วมเดือน ทางญาติเห็นว่าท่านต้องการกลับมานอนรักษาตัวที่บ้านพัก จึงได้นำออกจากโรงพยาบาลกลับมาและท่านก็อำลาโลกอย่างสงบ

ย้อนรำลึกถึงอดีตความเป็นมาของ พ่อเลี้ยง ชูชาติ กัลมาพิจิตร เดิมเป็นชาวกรุงเทพมหานคร แต่ได้เดินทางมาประกอบอาชีพที่จังหวัดเชียงใหม่พร้อมกับบิดาในปี พ.ศ. 2500 ซึ่งขณะนั้นมีอายุ 18 ปี ได้มาประกอบอาชีพทำเหมืองแร่ที่ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม แต่ไม่ ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร จึงได้เปลี่ยนไปทำสวนส้มโดยทำการซื้อที่ดินที่ตำบลโป่งแยง ทำสวนส้มแต่ราคาส้มตกลงไม่ประสบความสำเร็จ

จนเมื่อปี พ.ศ. 2518 พ่อเลี้ยงชูชาติ ได้ขายสวนส้ม ไปทำกิจการรีสอร์ทที่มีชื่อว่า “เอราวัณรีสอร์ท”ขึ้นน่าจะเป็นแห่งแรกของเชียงใหม่ที่อยู่บนดอยแม่ริม แต่ต้องพบอุปสรรคใหญ่เพราะเส้นทางที่จะเข้าไปยังรีสอร์ต ถนนหนทางไม่สะดวกยิ่งในหน้าฝนแทบขึ้นไม่ได้เลยจึงทำให้มีนักท่องเที่ยวมาน้อยมาก จนไม่สามารถจะดำเนินการต่อไปได้ จากการเป็นนักสู้ที่ไม่ยอมท้อถอยต่ออุปสรรคปัญหาต่างๆ ทางพ่อเลี้ยงชูชาติ จึงขายกิจการ รีสอร์ตทิ้ง และหันมาทำปางช้างแม่สา”วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2519

โดยเริ่มจากการขอเช่าพื้นที่จำนวน 30 ไร่เศษ บริเวณหมู่บ้านแม่แมะ จากกองพันสัตว์ต่าง ซึ่งเคย เป็นปางช้างเก่าอยู่แล้วและขอเช่าช้างจาก คนกะเหรี่ยงที่อำเภอสะเมิงมา 5-6 เชือก พร้อมกับควาญช้างโดยพ่อเลี้ยงชูชาติ ต้องทำการตลาดเอง โดยไปติดต่อร้องขอจากพวกไกด์จากบริษัททัวร์จากโรงแรมรถไฟ จากคนขับรถแท๊กซี่ตามสถานีรถไฟ เพื่อให้นำนักท่องเที่ยวเข้ามาชมช้างโดยวันๆหนึ่งมีนักท่องเที่ยวเข้ามาชมแค่วันละ 10 คนเท่านั้น แต่ด้วยความไม่ยอมแพ้เดินหน้าสู้ทุกอย่างเพื่อให้ปางช้างแม่สาเกิดขึ้นมาให้ได้ ผลก็คือค่อยประสบความาสำเร็จจากนักท่องเที่ยวมาดูวันละ 10 คน เริ่มเป็นวันละ 20 คนและเพิ่มปริมาณขึ้นในทุกๆวันจนบริษัททัวร์ทุกแห่งของเชียงใหม่ วิ่งเข้ามาหาเอง

จากช้างที่มีอยู่แค่ 7 เชือกเพิ่มปริมาณขึ้นในทุกๆปี ชื่อเสียงของปางช้างแม่สา ก็เริ่มกระจายไปทั่วโลก มีผู้นำหลายประเทศมาเยี่ยมชมการแสดงช้างโชว์ ได้เลี้ยงช้างและอยู่กับช้าง ชมความน่ารักของลูกช้างและช้างแสนรู้ จนล่วงเลยมาถึง 40 ปี จนปัจจุบัน ปางช้างแม่สามีช้างทั้งหมดกว่า 80 เชือกเพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างประเทศ และได้มีการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น เพื่อให้ปางสาแม่สา พัฒนาต่อๆไป

พ่อเลี้ยงชูชาติได้ใช้ชีวิตผูกพันกับช้างมาตลอดอายุขัย โดยในแต่ละปีจะจัดงานวันช้างไทย ที่ปางช้างแม่สา มีการเลี้ยงสะโตกช้างที่ใหญ่ที่สุด และมีพิธีบายศรีสู่ขวัญช้างที่มีอายุมาก เป็นการให้ความใส่ใจต่อสุขภาพและ ความเป็นอยู่ของช้างมาโดยตลอดจน“ปางช้างแม่สา” เป็นปางช้างแห่งแรกในประเทศไทย ที่ได้รับมาตราฐาน ISO 9001 VERSION 2008 ซึ่งการจากไปของ พ่อเลี้ยงชูชาติ กัลมาพิจิตร ถือเป็นการสูญเสียครั้งใหญ่ในวงการของผู้ประกอบอาชีพเกี่ยวกับช้าง

 

 

ซึ่งท่านพ่อเลี้ยงชูชาติ มีความรักและผูกพันกับช้าง และสร้างให้ ปางช้างแม่สา โด่งดังไปทั่วโลก การจากไปของท่านจึงเป็นการสูญเสียบุคลากรคนทำงานเพื่อช้างที่ยิ่งใหญ่ สร้างความสุขความร่มเย็นให้กับช้างและคนเลี้ยงช้างให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีกัน..ขออำลาอาลัย “พ่อเลี้ยงชูชาติ กัลมาพิจิตร “ผู้สร้างตำนานปางช้างแม่สา เป็นตำนานคนเลี้ยงช้างผู้ยิ่งใหญ่และขอแสดงความเสียใจต่อครอบครัว”กัลมาพิจิตร”คนรักช้างในการสูญเสียในครั้งนี้

งานวิ่ง ‘สิงห์ขาว ชาเลนจ์รัน 2019’ ชิงโล่ประทาน พระองค์ภาฯช่วยเด็กยากไร้ ลั่นยกระดับเป็นงานอีเว้นท์วิ่งอันดับต้นของประเทศ

เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 28 มกราคม 2562 ที่คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่(มช.) สมาคมศิษย์เก่าคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มช. แถลงข่าวการจัดงานวิ่งการกุศล โครงการ ‘สิงห์ขาว ชาเลนจ์รัน’ (SINGHAKAO CHALLENGE RUN 2019) ชิงโล่รางวัลประทาน พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ระดมทุนถวายเพื่อใช้ในโครงการฯ ตามพระราชอัธยาศัย และเพื่อใช้โครงการสาธารณกุศลอื่นๆของทางสมาคมฯ งานวิ่งจะจัดให้มีขึ้นในวันที่ 10 มีนาคม 2562 ที่ ศาลาอ่างแก้ว ภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีนายบุญเลิศ บูรณุปกรณ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ในฐานะที่ปรึกษาการจัดงานสิงห์ขาวชาเลนจ์รัน นางรัตนประภา ดิศวัฒน์ ประธานการจัดงานฯ พร้อมคณาจารย์ และศิษย์เก่าคณะฯ ร่วมแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน

นางรัตนประภา กล่าวว่า ที่มาของการจัดงาน มองว่า กิจกรรมการวิ่งเป็นกีฬาที่ทรงพลัง ให้คนก้าวออกมาท้าทายและอยากเอาชนะ(ชาเลนจ์)ตัวเอง ไม่หยุดพัฒนาศักยภาพ จากวิ่งไม่ได้เป็นวิ่งได้ วิ่งได้อย่างช้าๆเป็นเร็วขึ้นเรื่อยๆ อย่าท้อแท้ที่จะเอาชนะทุกอุปสรรค ทุกข้อจำกัด ทุกข้อปัญหา เพื่อทำให้สำเร็จ มุ่งพัฒนาทำสิ่งดีๆให้สังคมอย่างเต็มความสามารถ เหมือนกับสปิริตของพวกเราชาวสิงห์ขาวที่ปลูกฝังกันมาทุกรุ่น ทีมงานจึงหยิบเอาเรื่อง “ความมุ่งมั่น ท้าทาย ก้าวข้ามทุกอุปสรรค” มาเป็น คอนเส็ปต์ของงานวิ่ง SINGHAKAO CHALLENGE RUN 2019 ครั้งนี้ ในส่วนของโลโก้ ของงาน เราพัฒนามาจากชื่อ และสัญลักษณ์ของคณะ ให้อารมณ์เหมือนสิงห์ขาวกำลังพุ่งทะยานไปข้างหน้า เปรียบเสมือนทุกคนที่กำลังก้าววิ่ง พร้อมเผชิญกับทุกอุปสรรคที่รออยู่ และพร้อมที่จะทำลายอุปสรรคนั้นด้วยกายและใจที่เต็มร้อย โดยเลือกสีน้ำเงิน ซึ่งเป็นสีประจำคณะ

 

“งานวิ่ง ‘สิงห์ขาวชาเลนจ์รัน 2019’ มีเส้นทางวิ่ง 2 ระยะ คือ ประเภท ฟันรัน 4.84 กิโลเมตร. และ ชาเลนจ์รัน 12.48 กิโลเมตร เส้นทางวิ่งฟันรัน ใช้เส้นทางภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นส่วนใหญ่ เริ่มรวมพลที่ข้างศาลาอ่างแก้ว จากจุดสตาร์ทข้างศาลาธรรมมุ่งหน้า แล้วเลี้ยวซ้ายทางตามถนน บริเวณเสาธง จนถึงจุดจอดรถไฟฟ้า เลี้ยวซ้ายไปตามสนามรักบี้ จากนั้นวิ่งเลียบไปตามเส้นทางขนานรั้ว ผ่านภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ ผ่านหมู่บ้านไผ่ล้อม จนถึงสนามเทนนิส จากนั้นเลียบตามทางไปผ่านหน้าหอ 40 ปี เลี้ยวซ้าย มุ่งหน้าถึงโรงพยาบาลสัตว์เล็ก ณ จุดนี้จะพบจุดบริการน้ำดื่มจุดแรก เลี้ยวขวาผ่านสนามกีฬากลาง สระว่ายน้ำรุจิรวงค์ มุ่งหน้าสู่หอนาฬิกา เลี้ยวขวามุ่งหน้าไปทาง อมช. ลงเนินมา วิ่งต่อมาจะผ่านคณะรัฐศาสตร์ จากนั้นมุ่งหน้าผ่านไปทางขึ้นอ่างแก้ว ผ่านหน้าธนาคารกสิกรไทย บริเวณหน้าคณะมนุษยศาสตร์ มีจุดบริการน้ำที่2 ก่อนที่จะวิ่งขึ้นเนิน เพื่อเลี้ยวเข้าอ่างแก้ว ณ จุดนี้นักวิ่งฟันรันเมื่อพ้นสันอ่างให้เลี้ยวซ้ายเข้าเส้นชัยไปก่อน”

 

 

นางรัตนประภา กล่าวต่อว่า ส่วนวิ่งชาเลนจ์รัน ซึ่งถือเป็นครั้งแรกของเส้นทางวิ่ง 3 อ่าง ที่ยังไม่เคยมีการจัดมาก่อน ใช้เส้นทางวิ่งช่วงแรกเหมือนฟันรัน แต่จะวิ่งต่อ โดยวิ่งวนไปด้านในอ่างแก้ว วนออกมาด้านข้างคณะนิติศาสตร์ เลียบอ่างตาดชมพู ผ่านหน้าคณะการสื่อสารมวลชน ตรงด้านหน้าตลาดฝายหิน มีจุดบริการน้ำที่3 และจุดพยาบาล (จุดนี้ หากนักวิ่งท่านใดทำเวลาเกินกว่า 7.15 น. เราจะมีรถบริการนำท่านไปส่งที่ศาลาอ่างแก้ว (cut off time – DNF) จากนั้นวิ่งมุ่งหน้าสู่คณะสถาปัตย์ฯจนถึงประตูทางออกวัดฝายหิน เลี้ยวซ้ายไปจนถึงแยกทางขึ้นกาแล มีจุดบริการน้ำที่4 รวมถึงเกลือแร่ ผลไม้และจุดพยาบาล จากกาแลลงมา มีจุดบริการน้ำที่5 และบริเวณนี้ถ้านักวิ่งหมดแรง หรือทำเวลาเกิน 08.00 น. (cut off time 08.00) มีรถบริการ แต่ถ้าท่านผ่านจุดนี้ไปได้เป้าหมายคือ ประตูวิศวะ มุ่งตรงหอนาฬิกาอีกครั้ง ณ จุดนี้เลี้ยวซ้ายผ่านคณะวิศวะฯ แล้วเลี้ยวขวาถัดไปผ่านหอ 6 ชาย เพื่อผ่านลงเนินสหกรณ์ แล้วขึ้นเนินห้องสมุด จากนั้นเลี้ยวผ่านคณะสังคมศาสตร์ ผ่านโรงอาหารคณะมนุษย์ มุ่งหน้าสันอ่างแก้ว แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าเส้นชัย

 

นางรัตนประภา กล่าวอีกว่า ช่วงแรกเราเปิดรับสมัครไปไม่นาน มีผู้สมัครเข้ามาเต็มจำนวน คือ 2,000 คน โดยค่าสมัคร ฟันรัน 400 บาท วิ่งชาเลนจ์รัน 450 บาท และ VIP 2,500 บาท แต่เนื่องจากการตอบรับดีมาก ทางทีมจัดงานจึงขยายเพิ่มการเปิดรับสมัครรอบพิเศษอีก 500 คน ตั้งแต่วันนี้ไปจนถึงอีก 10 วัน

 

“สิทธิพิเศษที่นักวิ่งผู้สมัครจะได้รับ คือ โล่รางวัลประทาน พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา สำหรับผู้ได้อันดับ1 รางวัล over all ชาย-หญิง และยังมีโล่เกียรติยศ พร้อมเงินรางวัลในแต่ละประเภทอายุ รวมถึงเหรียญรางวัล ที่ออกแบบเป็นรูปหัวสิงห์ที่มีความสวยงามเป็นอย่างมากให้กับนักวิ่งที่เข้าเส้นชัยทุกระยะ และมีรางวัลพิเศษ เป็นการจับฉลากตั๋วเครื่องบินแอร์เอเชีย ค่างประเทศ 4 ใบ ในประเทศ 3 ใบ มีการเปิดคลินิกนักวิ่งทีมชาติ แนะนำการพัฒนาการวิ่งให้กับ ผู้สมัครที่สุ่มมา 100 คน ในเวลา 13.00 น. วันที่ 24 กุมภาพันธ์ สามารถติดตามรายละเอียดการจัดงานได้ที่ เฟซบุ๊ค แฟนเพจ สิงห์ขาว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่” นางรัตนประภา กล่าว

 

ด้านนายบุญเลิศ บูรณุปกรณ์ ที่ปรึกษาการจัดงานฯ กล่าวว่า งานที่จัดขึ้นนี้รายได้เราจะนำไปช่วยเด็กยากไร้ นำมาซึ่งหน้าตอของเมืองเชียงใหม่ ตนจะผลักดันให้งานวิ่งของสิงห์ขาว ยกระดับขึ้นเป็นอีเว้นท์งานวิ่งระดับต้นๆของประเทศไทยที่ใครๆก็ต้องไม่พลาดที่จะมา ส่วนช่วงของการจัดงานที่จะมีขึ้นในวันที่ 10 มีนาคมนั้น หลายคนเป็นห่วงเรื่องของภาวะหมอกควัน ตนเองมั่นใจว่าไม่น่ากังวล เนื่องจากหารือกับผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่แล้ว จะมีการประกาศภาวะต่อสู้กับอากาศเสียโดยจะคิกออฟในต้นเดือนหน้านี้ เชื่อว่าเชียงใหม่อากาศจะไม่เลวร้ายเหมือนกรุงเทพฯ

////////

แร่ปลาทูน่าราคาเป็นแสน คนเชียงใหม่กินสดๆราคาแค่หลักร้อย

โลกโซเชียลที่เชียงใหม่กระหึ่ม ร้านอาหารญี่ปุ่น ไดโชะ บาย ซูซิ Daiso by Sushi ที่ตั้งอยู่บริเวณวงแหวนรอบสองแยกตลาดรวมโชค เลี้ยวขวา ต.สันทรายน้อย อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ ได้นำปลาทูน่า น้ำหนักร่วม 80 กิโลกรัม สองตัวราคาร่วมแสนบาท ส่งตรงมาจากประเทศญี่ปุ่นมายังเชียงใหม่ ที่ร้านแห่งนี้ จึงต้องมีการโชว์ให้ลูกค้าที่นิยมอาหารญี่ปุ่นขนานแท้และดั้งเดิม ได้ชมการแร่ปลาทูน่าทั้งตัวสดๆอย่างชำนาญ

โดยนายนิรุทธิ์ แก้วคำฟูหรือ น้องไดร์ ไดโซะ ซูซิ  คนเชียงใหม่เจ้าของร้านหน้าหล่อแบบสไตล์ญี่ปุ่น ได้เปิดตัวปลาทูน่าทั้งสองตัวที่สั่งตรงมาถึงร้าน จากความใหญ่โตเท่าคนจนต้องลงไปนอนเคียงข้างวัดขนาดปลาก่อนที่จะทำการแร่ปลาทั้งตัวเพราะถือว่าเป็น 2 ตัวแรกที่มาถึงเชียงใหม่ จากนั้นก็ทำการแร่โดยมีกลุ่มลูกค้าที่นิยมกินปลาสดมารอชมจำนวนมากรวมถึงรายการต่างๆมาทำการไลฟ์สดสร้างสีสันเป็นอย่างมากโดยได้ชมวิธีการแร่ปลาทูน่าอย่างถูกวิธีและหั่นเฉือนเนื้อออกมาให้ลูกค้าและผู้ทีมาชมได้ลิ้มรส เป็นกลุ่มแรก

นายนิรุทธิ์ แก้วคำฟูหรือ น้องไดร์ ได้เผยว่าได้สั่งปลาทุน่าสดโดยตรงมาจากประเทศญี่ปุ่นใช้เวลาเดินทางมาถึงรวม 3 วันโดยแพ็คเป็นอย่างดี ราคาสองตัวร่วมแสนบาท แต่ขายในราคาหลักร้อยเท่านั้น ชาวเชียงใหม่จึงโชคดีได้ลิ้มรสปลาทูน่าจากทะเลอย่างสดๆเลย ในการเปิดร้านใหม่โดยคิดเพียง ราคาคนละ 399 บาท ตั้งแต่ 11.00 – 15.00 น. และ ราคาบุฟเฟ่ต์ช่วงเย็นหลังจาก 15.00 น. เป็นต้นไป ราคาท่านละ 459บาท

โดยมีอาหารญี่ปุ่นนานาชนิดมีซาชิมิ ซูชิ ข้าวปั้นมากิโรล ยำสร่ายไข่กุ้ง และ ยำแซลมอน ปลาซาบะย่าง ปลาไข่ย่างราดซอส หรือ ปลาหมึกย่าง เป็นต้น สำหรับปลาทูน่าจากญี่ปุ่นจะสั่งตรงเข้ามาตลอดและถือเป็นแห่งเดียวที่นำปลาทูน่าทั้งตัวมาแร่ให้ลูกค้าได้ชิมอย่างสดๆด้วยน้ำจิ้มรสเลิศ

สภาอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ จัด “อุตสาหกรรมแฟร์ 2019”

สภาอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ จับมือหน่วยงานภาครัฐและเอกชน จัดงานแสดงสินค้าอุตสาหกรรมยิ่งใหญ่ “อุตสาหกรรมแฟร์ 2019”วันที่ 1 – 10 กุมภาพันธ์ 2562 ณ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1พบกับหลากหลายสินค้าราคาโรงงาน พร้อมคาราวานกลุ่มผู้ประกอบการอาหาร Northern Thailand Food Valley ขนสินค้าพรีเมียมพร้อมโปรโมชั่นสุดพิเศษลดแหลกแจกแถม

นายศุภพงศ์ วงศ์วรรณ ประธานจัดงานอุตสาหกรรมแฟร์ 2019 เปิดเผยว่า สภาอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1, ศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคที่ 1 (BOI), สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 19 เชียงใหม่ และหน่วยงานสนับสนุนการจัดงาน ประกอบด้วย สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติภาคเหนือ (สวทช.) สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ภาคเหนือ (จังหวัดเชียงใหม่) สมาคมส่งเสริมการรับช่วงการผลิตไทย ชมรมผู้ประกอบการผลิตเครื่องจักรชิ้นส่วนโลหะและอุตสาหกรรมสนับสนุนภาคเหนือ ได้ร่วมกันจัดงาน “อุตสาหกรรมแฟร์ 2019”ขึ้น ระหว่างวันที่ 1–10 กุมภาพันธ์ 2562 ณ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 ถ.ทุ่งโฮเต็ล อ.เมือง จ.เชียงใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่และส่งเสริมสนับสนุนสินค้าอุตสาหกรรมของภาคเหนือให้เป็นที่รู้จัก และเพิ่มช่องทางการตลาดให้กับผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ซึ่งงานอุตสาหกรรมแฟร์ ได้จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 20 แล้ว

 

ประธานจัดงานกล่าวเพิ่มเติมว่า งานอุตสาหกรรมแฟร์ถือเป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมจากจังหวัดเชียงใหม่ ส่วนกลางและส่วนภูมิภาคได้นำผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพมาตรฐานมาจัดแสดงและจำหน่ายให้กับผู้บริโภคโดยตรง ขณะเดียวกันยังเป็นการเชื่อมโยงเครือข่ายการค้าการลงทุนระหว่างผู้ประกอบการในภูมิภาคและผู้ประกอบการจากส่วนกลาง สิ่งที่น่าสนใจภายในงานปีนี้คือการออกบูทของสมาชิกสภาอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารและเกษตรแปรรูป (Food Valley) ที่จะนำผลิตภัณฑ์พรีเมี่ยมที่จำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศมาจำหน่ายราคาพิเศษและโปรโมชั่นลดแลกแจกแถมภายในงานอาทิ บริษัทลานนาเกษตรอุตสาหกรรม จำกัด บริษัท นิธิฟู้ดส์ จำกัด บริษัทวีแอนด์พีเฟร็ชฟูดส์ จำกัด บริษัทบีโปรดักส์ จำกัด บริษัทผึ้งน้อยเบเกอรี่ จำกัด ผักสดปลอดสารพิษจากร้านโอ้กะจู๋ รวมถึงโซนเครื่องจักรที่จะมีเครื่องจักรทางการเกษตร เครื่องแพ็ครูปแบบต่างๆ เครื่องบรรจุ เครื่องเป่าขวด เครื่องซิลสูญญากาศ รวมถึงจักรปักอุตสาหกรรม ที่เกษตรกร วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ Startup สามารถนำไปต่อยอดธุรกิจได้ นอกจากนี้ยังจะมีการแสดงและจำหน่ายนวัตกรรมใหม่ของการทำหลังคาด้วยหลังคาแอสฟัลท์ ชิงเกิ้ล ที่จะทำให้บ้านของคุณดูเด่นและผสมผสานไปกับธรรมชาติล้อมรอบ และยังมียางมะตอยน้ำฉาบผิวสำเร็จรูปที่สามารถทำเองได้ ทั้งหมดนี้จะมีการนำมาสาธิตพร้อมจำหน่ายราคาพิเศษเฉพาะงานนี้เท่านั้น

สำหรับผู้เริ่มต้นทำธุรกิจใหม่ ที่ต้องการคำปรึกษาแนะนำภายในงานศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 จะมีศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรมแห่งอนาคต (Industry Transformation Center : ITC ) ระดับภูมิภาค ซึ่งขับเคลื่อนด้วยความร่วมมือจากภาครัฐและเอกชน เพื่อสนับสนุนให้ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมในภูมิภาค ต่อยอดนวัตกรรม เทคโนโลยี และต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์ที่มีมูลค่าสูง ตลอดจนบ่มเพาะให้สามารถนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาสินค้าและดำเนินธุรกิจได้เอง นอกจากนี้ยังมีความช่วยเหลือต่างๆ ผ่านโครงการของภาครัฐที่จะทยอยตามมา จึงเป็นโอกาสดีของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวมถึงผู้ประกอบการ SME และ OTOP ที่ต้องการจะยกระดับภาคธุรกิจของตนเอง ให้พัฒนาสินค้าด้วยนวัตกรรม เทคโนโลยี และความคิดสร้างสรรค์ นอกจากนี้ยังมีคอร์สฝึกอาชีพระยะสั้น ด้านการประกอบอาหาร การทำขนม และศิลปะประดิษฐ์มากมาย จาก สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 19 เชียงใหม่ ผู้สนใจสามารถสมัครเรียน เพื่อนำไปต่อยอด ทำอาชีพเสริมสร้างรายได้ และยังมีสินค้านาทีทองจากบริษัทผู้ร่วมออกบูทด้วย ทั้งนี้ตลอดทั้ง 10 วัน คาดว่าจะมีมูลค่าการซื้อขายหมุนเวียนกว่า 50 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจและส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงใหม่ ขณะเดียวกันผู้บริโภคยังจะได้เลือกซื้อสินค้าคุณภาพในราคาโรงงาน

“ขอเชิญชวนผู้สนใจเข้าชมงานและเลือกซื้อสินค้าคุณภาพ ภายในงานอุตสาหกรรมแฟร์ 2019 ระหว่างวันที่ 1 – 10 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 10.00 – 20.00 น. ณ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 ถ.ทุ่งโฮเต็ล อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ท่านจะได้พบกับความก้าวหน้าของวงการอุตสาหกรรมประเทศไทย และได้สนับสนุนผู้ประกอบการไทย โดยจะจัดเพียงปีละหนึ่งครั้งเท่านั้น สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ โทรศัพท์ 0-5330-4346-7” ประธานจัดงานกล่าวในที่สุด

งานบุญปอยหลวงโรงพยาบาลสงฆ์แห่งโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่

ขอเชิญชวนพ่อแม่พี่น้องประชาชนชาวเชียงใหม่และจังหวัดใกล้เคียงร่วมงานบุญปอยหลวงโรงพยาบาลสงฆ์แห่งโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ สมทบทุนเพื่อพระภิกษุสงฆ์อาพาธในเขต 8 จังหวัดภาคเหนือ

ปัจจุบันโรงพยาบาลสงฆ์แห่งโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ได้เพิ่มจำนวนแพทย์ที่ให้บริการในห้องตรวจพระภิกษุสงฆ์ทั้งแพทย์ทั่วไป, แพทย์เฉพาะทางด้านอายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ,แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผู้สูงอายุ และได้เพิ่มห้องตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ซึ่งยังขาดเครื่องช่วยหายใจ เครื่องวัดความอิ่มตัวของออกซิเจนในกระแสเลือด เครื่องดูดเสมหะชนิดพกพา เปลขนย้ายผู้ป่วยอาการหนัก และเครื่องวัดอุณหภูมิ

ด้วยเหตุนี้ในระหว่างวันที่ 8-10 กุมภาพันธ์ 2562 นี้ ทางโรงพยาบาลฯจึงได้จัดให้มีปอยหลวงเพื่อเฉลิมฉลองโรงพยาบาลสงฆ์แห่งโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ขึ้น เพื่อสมทบทุนมูลนิธิโรงพยาบาลสวนดอกเพื่อพระภิกษุสงฆ์อาพาธและจัดซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์เพื่อรองรับพระภิกษุสงฆ์ที่เพิ่มจำนวนมากขึ้นมีข้อจำกัดในการเข้าถึงการรักษาพยาบาลในระบบทั่วไป ให้ได้รับการบริการที่ดีที่สุด

โดยในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2562 จะมีการแห่ขบวนเครื่องไทยทานและครัวทานของบุคลากรคณะแพทยศาสตร์ และวันที่ 9 -10 กุมภาพันธ์ 2562 คณะสงฆ์และศรัทธาประชาชนจากวัดต่างๆ ทั่วภาคเหนือจะได้แห่ครั้งนี้ด้วย
ผู้มีจิตศรัทธาทุกท่านได้ร่วมงานบุญปอยหลวงในครั้งนี้ด้วยกันครับ และร่วมบริจาคสมทบทุนมูลนิธิโรงพยาบาลสวนดอกในครั้งนี้ด้วย
ผู้มีจิตศรัทธาสามารถร่วมทำบุญสมทบทุนด้วยการบริจาคทุนทรัพย์หรืออุปกรณ์ทางการแพทย์ได้ที่
1. มูลนิธิโรงพยาบาลสวนดอก คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ชั้น 1
2. โรงพยาบาลสงฆ์แห่งโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ หมายเลขโทรศัพท์ 053-938400
3. กรณีโอนเงินผ่านธนาคาร ชื่อบัญชี “มูลนิธิโรงพยาบาลสวนดอก เพื่อพระภิกษุสงฆ์อาพาธ” ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาคณะแพทยศาสตร์ เชียงใหม่ เลขที่บัญชี 566-4-95594-8 (ใบเสร็จรับเงินสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้)

เปิดแลนด์มาร์คใหม่ ซุ้มประตูหัวคิงคอง “ประตูสู่ความรุ่งเรือง”ที่ห้วยตึงเฒ่าเชียงใหม่

เมื่อเวลา 10.00 น. พลตรีสาธิต ศรีสุวรรณ ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 33 เป็นประธานเปิดซุ่มประตูสู่ความรุ่งเรือง ซึ่งเป็นแลนด์มาร์คแห่งใหม่ของห้วยตึงเฒ่า โดยมีลักษณะเป็นซุ้มประตูหัวคิงคอง ใช้ไม้ไผ่จำนวน 500 ลำ ความสูง 6 เมตร กว้าง 5 เมตร แบ่งเป็น 2 ชั้น สามารถถ่ายภาพกับวิวสวยๆ ได้ทั้งชั้นบนและชั้นล่าง ซึ่งเกิดจากแนวคิดที่ต้องการให้ผู้คนได้เดินผ่านเข้าสู่ประตูแห่งความรุ่งเรือง เพราะไม้ไผ่จะเป็นสีทอง และถือว่าเป็นศิลปะที่หาดูได้ยาก นอกจากนี้ เส้นทางเดินเข้ามาเป็นสะพานไม้ไผ่ หรือทางเหนือเรียกว่า ขัวแตะ ที่มีความสวยงามดึงดูดนักท่องเที่ยวได้เป็นอย่างมาก

 

ทั้งนี้ มณฑลทหารบกที่ 33 ได้อนุมัติให้ห้วยตึงเฒ่า ทำซุ้มประตูคิงคอง โดยใช้ทีมงานจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จำนวน 7 นาย ตั้งแต่วันที่ 6 มกราคม จนถึงวันที่ 18 มกราคม 2562 รวมเวลาในการสร้างจำนวน 13 วัน ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 195,000 บาท ซึ่งบริเวณโดยรอบจะเป็นน้ำ เกือบจะเรียกว่าเป็นเกาะก็ว่าได้ จึงถือได้ว่าเป็นจุดพักผ่อนแห่งใหม่ในห้วยตึงเฒ่าที่นักท่องเที่ยวไม่ควรพลาด

ด้าน พ.อ.สุปกรณ์ เรือนสติ ผจก.สนง.โครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวอ่างเก็บน้ำห้วยตึงเฒ่า อันเนื่องมาจากพระราชดำริ กล่าวว่า นอกจากซุ้มประตูคิงคองที่เปิดตัวในวันนี้แล้ว ภายในห้วยตึงเฒ่า ยังมีหุ่นฟางคิงคองยักษ์พ่อ แม่ ลูก และบรรดาหุ่นฝางสัตว์ต่างๆมากมาย

 

ซึ่งเป็นที่โด่งดังมากในโลกโซเชียลตั้งแต่ปีที่แล้ว รวมทั้งมือคิงคองยักษ์จากฟาง ที่สามารถชมวิวของอ่างเก็บน้ำห้วยตึงเฒ่า และเห็นตัวเมืองเชียงใหม่อีกด้วย ทำให้ประชาชน และนักท่องเที่ยวทั้งชาวเชียงใหม่ และจากจังหวัดอื่นแวะมาเช็คอินถ่ายรูป โดยในปีที่ผ่านมามีนักท่องเที่ยวเข้ามาเพิ่มมากขึ้นกว่า 400,000 คน

นักธุรกิจใหญ่เมืองเชียงใหม่คว้า หมายเลขทะเบียนสวย ขษ9999เชียงใหม่ไปครอง ประมูลหลักล้าน

เมื่อเวลา 09.00 น.วันที่ 19 ม.ค.นี้ ที่ศูย์ประชุมนานาาติเอ็มเพรส โรงแรมดิเอ็มเพรสเชียงใหม่ นายศรัญญู มีทองคำ ปลัดจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานในพิธีการประมูลหมายเลขทะเบียนรถ หมวดอักษร ขษ เชียงใหม่ ครั้งที่ 23 โดยมีนายพีระพล ถาวรสุภเจริญ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก พร้อมทั้ง นางพรรณี พุ่มพันธ์ ผู้ตรวจราชการกรม รักษาราชการแทนขนส่งจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมในการต้อนรับ

นางพรรณ พุ่มพันธ์ ผู้ตรวจราชการกรม รักษาราชการแทน ขนส่งจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่าสำนักงานขนส่งจังหวัดเชียงใหมกำหนดจัด การประมูลหมายเลขทะเบียนรถสวย ครั้งที่ 23 หมวดอักษร ขษ จำนวน301หมายเลข ในวันเสาร์-อาทิตย์ที่ 19-20 มกราคม2562ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติเอมเพรส โรงแรมดิเอ็มเพรสจังหวัดเชียงใหม่


ทั้งนี้ แผ่นป้ายที่จะนำออกประมูลเป็นแผ่นป้ายภาพกราฟฟิคที่มีสีสันสวยงาม มีเอกลักษณ์และความหมายเฉพาะตัว บ่งบอกความเป็นจังหวดเชียงใหม่ ประกอบ ด้วย พระบรมธาตดอยสุเทพ ประเพณีปี๋ใหม่เมืองหรือสงกรานต์ ประเพณียี่เป็งหรือลอยกระทง ดอกทองกวาวซึ่งเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดเชียงใหม่ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7รอบ พระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รวมถึงสัญลักษณ์ของจังหวัดเชียงใหม่ที่โด่งดังและรู้จักกันไปทั่วโลก นันคือ หอคำหลวงในอุทยานหลวงราชพฤกษเชียงใหม่ ซึ่งจะสื่อความหมายของ จังหวัดเชียงใหม่ที่เป็นจังหวัดที่มีความเจริญรุงเรือง สงบ ร่มเย็น ประชาชนมีความสุขโดยถ้วนหน้า

นอกจากนี้หมวดอักษร ขษ ยังสื่อความหมายถึง “ขับรถเลขสวย ร่ำรวยหรรษา อันหมายถึง ผู้ครอบครองป้ายดังกล่าวจะมีแต่ความสุขมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง และที่ใช้อยู่ จะนำพาให้มีทรัพย์เพิ่มพูนยิ่งๆ ขนไป และเพื่อเป็นศิริมงคลแก่ผู้เป็นเจ้าของแผ่นป้ายทะเบียนที่จะทำการประมูล สำนักงานฯ ได้บ้าแผนป้ายทั้งหมดเข้าประกอบพิธีอธิษฐานจิตภาวนาณ พระธาตุศรีจอมทอง วรวิหารโดย พระพรหมมงคล (ทอง สิริมฺงคโ ล )ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 7เจ้าอาวาส วัดดพระธาตุ ศรีจอมทองวรวิหาร เมื่อวันที่26ธันวาคม 2561ที่ผ่านมาจังหวัดเชียงใหม่ได้จัดประมูลแผ่นป้ายทะเบียนรถเลขสวยมาแล้ว จำนวน 22ครั้ง 2หมวดอักษรนำเงินรายได้โดยไม่หักค่าใช้จ่ายเข้ากองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน (กปถ.) จำนวนรวมทั้งสิน492,139,204บาท ทั้งนี้เพื่อนำไปใช้ในกิจกรรมการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนทั่วประเทศ จังหวัดเชียงใหม่

โดยผลการประมูลที่สร้างความสนใจมากก็คือ เลขทะเบียน ขษ 9999 เชียงใหม่ ผู้ประมูลได้ในจำนวนเงิน 809,999 บาท ก็คือนักธุรกิจใหญ่ของเชียงใหม่ นายวรวัชร์ ตันตรานนท์ โดยให้นายมนต์ชัย เตชะสา เป็นตัวแทนมาประมูล พร้อมกันนี้ยังประมูลมหายเลข ขษ.7777 ในราคา 185,500 บาทและ ขษ 2222 ราคา 195,000 บาท

เกษตรเชียงใหม่ชวน “ชม ชิม ช็อป สตรอว์เบอร์รี่สะเมิง”ผลโตๆแดงๆแสนอร่อย

นายสมพล แสนคำ เกษตรจังหวัดเชียงใหม่ ติดตามสถานการณ์ การผลิตสตรอว์เบอร์รี่อำเภอสะเมิงจังหวัดเชียงใหม่ โดยนายเสกสรร บัลลังก์ เกษตรอำเภอร่วมให้ข้อมูลการผลิต

เชียงใหม่เป็นแหล่งปลูก “สตรอว์เบอร์รี่” ที่สำคัญของประเทศโดยมีพื้นที่การผลิตทั้งสิ้น 6,670 ไร่ ปลูกมากที่สุดที่อำเภอสะเมิง เนื่องด้วยสภาพภูมิประเทศ ความสูงที่เหมาะกับการติดดอก พัฒนาผลของสตรอว์เบอร์รี่ ซึ่งเกษตรกรจะเริ่มทำการเพาะปลูกปลายเดือนสิงหาคม เก็บผลผลิตตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน-เมษายน ซึ่งตั้งแต่เริ่มปลูกจนเก็บเกี่ยวใช้ระยะเวลาทั้งสิ้น 3 เดือน ส่วนในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ จะเป็นเดือนที่สตรอว์เบอร์รี่ออกสู่ตลาดจำนวนมาก และทางอำเภอสะเมิงมีการจัดงานวันสตรอว์เบอร์รี่เป็นประจำทุกปี ซึ่งปีนี้เป็นครั้งที่ 18 จะตรงกับวันที่ 6-10 กุมภาพันธ์ 2562 เพื่อเป็นการส่งเสริมการการผลิต ที่ปลอดภัย การคัดพันธุ์ดี อีกทั้งยังเป็นกระจายผลผลิตสตรอว์เบอรี่ในช่วงที่ออกสู่ตลาดมาก รวมถึงเป็นการเพิ่มมูลค่าจากการท่องเที่ยววิถีเกษตร ซึ่งปีหนึ่งสามารถสร้างมูลค่าหลายล้านบาท

นายสมพล แสนคำ เกษตรจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่ากรมส่งเสริมการเกษตร ได้ส่งเสริมสตรอว์เบอร์รี่แปลงใหญ่ จำนวน 50 ราย พื้นที่กว่า 350 ไร่ ผ่านศูนย์เรียนรู้เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร(ศพก.) โดยมีนายวิทยา นาระต๊ะและนายธนิน ยี่โท เกษตรกรต้นแบบ ส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตสรอว์เบอร์รี่ปลอดภัย ตั้งแต่การขยายพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ใช้ไหลปลอดโรค การใช้สารชีวภัณฑ์ ปุ๋ยหมักรวมถึงการแปรรูปเพิ่มมูลค่า ในรูปแบบ แยม,อบแห้ง,น้ำ, ไวน์ ผ่านการรวมกลุ่มวิสาหกิจชุมชน

 

ไม่เพียงเท่านี้ยังมีหน่วยงานเอกชนร่วมนำนวัตกรรมในการผลิตโดยใช้กระดาษแทนใบตองตึง คลุมแปลงเพื่อต่อยอดนวัตกรรมสู่เกษตรกรไม่เพียงเท่านี้ยังได้รับงบประมาณจังหวัดเพื่อพัฒนาการผลิตสตรอว์เบอร์รี่ในระบบปิดเพื่อยกระดับมาตรฐานการผลิตและสามารถแข่งขันในระบบธุรกิจลดการใช้สารเคมีเกษตรกรมีรายได้อย่างยั่งยืนต่อไป